DSpace Repository

ประสิทธิผลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง : การวิเคราะห์อภิมาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชนกพร จิตปัญญา
dc.contributor.author วารุณี ฉวีศักดิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2015-08-14T07:42:55Z
dc.date.available 2015-08-14T07:42:55Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44279
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en_US
dc.description.abstract การวิจัยอภิมานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาลของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 2) ศึกษาประสิทธิผลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพด้านร่างกาย ด้านอาการ ด้านพฤติกรรม ด้านจิตใจ และผลลัพธ์ทางสุขภาพอื่น ๆ และ3) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่มีผลต่อความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยศึกษาจากงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ของประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2528 - 2550 จำนวน 37 เรื่อง รวบรวมข้อมูลคุณลักษณะด้านข้อมูลพื้นฐาน ระเบียบวิธีวิจัย เนื้อหาสาระของงานวิจัย นำไปวิเคราะห์ตามวิธีของ Glass, McGaw & Smith (1981) ได้ค่าขนาดอิทธิพล 67 ค่า ผลการวิจัยอภิมาน สรุปได้ดังนี้ 1. งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต (91.90%) มีการใช้กรอบแนวคิดที่ชัดเจน (86.50%) ใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (81.10%) มีขนาดกลุ่มตัวอย่างอยู่ระหว่าง 1-30 คน (62.20%) เครื่องมือวัดตัวแปรของงานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ ส่วนใหญ่มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือทั้งความตรงและความเที่ยง (51.40%) คุณภาพโดยรวมของงานวิจัยส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี (83.80%) การปฏิบัติการพยาบาลที่นำมาศึกษามากที่สุด คือ การปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวม (40.50%) โดยส่วนใหญ่เป็นโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด (16.20%) ผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ศึกษามากที่สุด คือ ผลลัพธ์ด้านร่างกาย (25.37%) โดยศึกษาความสามารถในการออกกำลังกายมากที่สุด (64.70%) 2. ค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพโดยรวมมีขนาดใหญ่ (d = 1.76) โดยผลลัพธ์ด้านพฤติกรรมให้ค่าขนาดอิทธิพลสูงที่สุด (d = 7.33) การปฏิบัติการพยาบาลด้านการคิดรู้ให้ค่าขนาดอิทธิพลสูงที่สุด (d = 7.01) 3. ระยะเวลาที่เลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วยมีผลต่อความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สามารถพยากรณ์ความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้ร้อยละ 9.4 en_US
dc.description.abstractalternative The purposes of this meta-analysis were 1) to study methodological and substantive characteristics of nursing interventions on health outcomes of patients with chronic obstructive pulmonary disease; 2) to study effectiveness of nursing interventions on health outcomes of patients with chronic obstructive pulmonary disease; and 3) to study the influence of methodological and substantive characteristics on the effect size. Thai thirty-seven master thesis published during 1985 to 2007 was recruited and then, was analyzed for methodological and substantive characteristics. Effect sizes were calculated for each study using the method of Glass, McGaw & Smith (1981). This meta - analysis yielded 67 effect sizes. Results were as followings: 1. The majorities of the studies were master's thesis (91.90%) Most of the studies reported conceptual framework (86.50%); used purpose sampling (81.10%); had sampling size during 1-30 persons (62.20%); and owed good quality (83.80%). Most of the instruments were tested for reliability and validity (51.40%). Most of nursing interventions were holistic interventions (40.50%). Most of health outcomes measured was functional health outcomes (25.37%). 2. Nursing interventions had the large effect-size on health outcomes (d = 1.76). Nursing interventions had highest of effect-size on behavioral health outcomes (d = 7.33). Cognitive intervention had the highest of effect-size on health outcomes (d = 7.01). 3. The time of smoking cessations was the variable that significantly predicted effect size at the level of .05. The predictive power was 9.4% of the variance. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.531
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ปอดอุดกั้น -- การพยาบาล en_US
dc.subject การพยาบาล -- วิจัย en_US
dc.subject การวิเคราะห์อภิมาน en_US
dc.subject Lungs -- Diseases, Obstructive -- Nursing en_US
dc.subject Nursing -- Research en_US
dc.subject Meta-analysis en_US
dc.title ประสิทธิผลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง : การวิเคราะห์อภิมาน en_US
dc.title.alternative The Effectiveness of nursing interventions on health outcomes in patients with chronic obstructive pulmonary disase : a meta analysis en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การพยาบาลผู้ใหญ่ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Chanokporn.J@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.531


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record