DSpace Repository

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 : ศึกษากรณีการนำมาตรการกันตัวบุคคลเป็นพยานมาใช้บังคับ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปารีณา ศรีวนิชย์
dc.contributor.author ฐานิสรา พาหะมาก
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2015-08-17T03:59:37Z
dc.date.available 2015-08-17T03:59:37Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44322
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์การกันตัวผู้ร่วมกระทำผิดไว้เป็นพยานตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ 2) พ.ศ. 2554 และกฎหมายของต่างประเทศได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ และประเทศอินโดนีเซีย เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการแสวงหาพยานหลักฐานในคดีทุจริตของข้าราชการระดับสูงและนักการเมือง อีกทั้งแนะนำ แนวทางการแก้ไขปัญหาในการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอีกด้วย ผลของการวิจัย ผู้วิจัยพบว่าปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อนำมาชี้มูลความผิดต่อข้าราชการระดับสูงและนักการเมืองนั้น คือ ผู้ร่วมกระทำผิดที่ไม่ใช่ตัวการสำคัญเกรงกลัวอิทธิพลซึ่งส่งผลถึงความไม่ปลอดภัยในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของตนเองและบุคคลใกล้ชิด อีกทั้งยังขาดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเกี่ยวกับการคัดสรรผู้ร่วมกระทำผิดมาเป็นพยานและ การตรวจสอบการใช้ดุลพินิจ นอกจากนี้ยังมีปัญหาในเรื่องน้ำหนักของพยานซึ่งเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดและการรับฟังพยานหลักฐานของศาล ปัญหาทั้งหมดนี้เป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับการทุจริตที่กระทำโดยข้าราชการระดับสูงและนักการเมือง ส่งผลให้ประเทศไทยไม่สามารถก้าวข้ามผ่านปัญหาการทุจริตไปได้ โดยสรุป ผู้วิจัยจึงเห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาขีดความสามารถในการแสวงหาพยานหลักฐานในคดีทุจริต โดยได้เสนอแนะให้มีบทบัญญัติหลักเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจในการกันตัวพยานให้ชัดเจน เปิดเผยและตรวจสอบได้ อีกทั้งเสนอให้ลงโทษผู้ร่วมกระทำความผิดที่ถูกกันไว้เป็นพยานที่กลับคำในชั้นศาลหรือเบิกความเท็จเป็นข้อหาต่างหาก รวมถึงเสนอแนะให้มีการรวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวกับการขัดขวางกระบวนการยุติธรรมให้มีความเป็นเอกภาพและครอบคลุม และการใช้มาตรการส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอื่นๆ เช่น การคุ้มครองพยานและผู้ให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์แก่รัฐและการจัดทำข้อตกลงการให้ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์เดียว คือ ลดปัญหาการทุจริตในประเทศไทย en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this thesis is to conduct a comparative study of criteria on treating the accomplice as witness under domestic law, i.e. the Organic Act on Counter Corruption B.E. 2542 amended By (No.2), B.E. 2554 and international laws, i.e. the laws of the United States of America, the United Kingdom and Indonesia. The study also indicates problems and obstacles in the process of collecting evidence in corruption cases against high ranking public servants and government officials. Additionally, the study includes suggested methods for resolving problems in using discretionary power of the National Counter Corruption Commission. The result of the study shows that the major problem and obstacle in collecting evidence for convicting the high ranking public servants and government officials of the corruption offence is that the accomplice who does not play an important role in the offence is afraid of the power of those high ranking public servants and government officials which may harm his own life, body and property, as well as those of the persons who are closely related to the said accomplice. Furthermore, there is a problem on inequality of the use of discretionary power of the National Counter Corruption Commission. Briefly the researcher has realized the necessity of the ability to obtain the accomplish witness testimony in corruption case, so the researcher has proposed that Thailand should have a clear legislation on the use of discretionary power of The National Counter Corruption Commission as well as the extra sanction for the witness who has been false testified. Including the codification of the legislation on obstruction of justice. All of these measures mentioned above to energized the power of Thai’s Counter Corruption strategy. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.568
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การสืบสวนการทุจริต -- ไทย en_US
dc.subject การทุจริต -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย en_US
dc.subject พยาน en_US
dc.subject พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 en_US
dc.subject Corruption investigation -- Thailand en_US
dc.subject Corruption -- Law and legislation -- Thailand en_US
dc.subject Prosecution en_US
dc.subject The Organic Act on Counter Corruption B.E. 2542 en_US
dc.title พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 : ศึกษากรณีการนำมาตรการกันตัวบุคคลเป็นพยานมาใช้บังคับ en_US
dc.title.alternative The Organic Act on Counter Corruption B.E. 2542 Amended by (No.2), B.E. 2554 : a study of the immunity from prosecution en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Pareena.S@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2012.568


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record