DSpace Repository

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนไลโปโปรตีนไลเปสในผู้ป่วยที่มีไขมันไทรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีระดับไทรกลีเซอไรด์ปกติ

Show simple item record

dc.contributor.advisor วีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ
dc.contributor.author อรุณรัตน์ เกียรติปรุงเวช
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2015-08-17T07:14:48Z
dc.date.available 2015-08-17T07:14:48Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44344
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract ที่มา : ภาวะไทรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมากมักเกิดจากสาเหตุร่วมกันระหว่างสาเหตุทางปฐมภูมิและทุติยภูมิ สาเหตุทางปฐมภูมิได้แก่ความผิดปกติทางพันธุกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการสลายไทรกลีเซอไรด์ การศึกษานี้ทำการวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน LPL ซึ่งถอดรหัสโปรตีนไลโปโปรตีนไลเปส ที่เป็นเอนไซม์สำคัญในกระบวนการสลายไทรกลีเซอไรด์ในผู้ป่วยที่มีไทรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง วิธีการศึกษา : ผู้ป่วยที่มีระดับไทรกลีเซอไรด์ในเลือดขณะอดอาหาร ≥ 886 มก. /ดล. (10 มิลลิโมล/ลิตร) อย่างน้อย 2 ครั้ง (n=90) และผู้ที่มีระดับไทรกลีเซอไรด์ < 150 มก./ดล. โดยไม่เคยได้ยาลดไขมันใดๆ (n=100) โดยจับคู่ตามอายุและเพศ จะถูกเกณฑ์เข้าสู่การศึกษา และตรวจ LPL variants ด้วยวิธี standard DNA sequencing method ผลการศึกษา : ในกลุ่มที่มีระดับไทรกลีเซอไรด์สูงมาก (n=90) เป็นเพศชาย 67 เปอร์เซ็นต์ มีค่ามัธยฐานอายุ 48 ปี (IQR: 40-56 ปี) พบความหลากหลายทางพันธุกรรม 4 ชนิด ในกลุ่มไทรกลีเซอไรด์สูงมาก 10 ราย และไม่พบในกลุ่มควบคุมเลย (p=0.002) โดย Ala98Thr และ Leu279Val เป็นความหลากหลายทางพันธุกรรมที่เคยมีรายงานมาก่อนถึงความสัมพันธ์กับภาวะไทรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ขณะที่ Arg270Gly และ Arg432Thr ยังไม่เคยมีรายงานมาก่อน นอกจากนี้ยังพบ Ser474X ซึ่งเคยมีรายงานถึงความสัมพันธ์กับระดับไทรกลีเซอไรด์ที่ต่ำลง ในกลุ่มที่มีระดับไทรกลีเซอไรด์สูงมาก 3 เปอร์เซ็นต์ และในกลุ่มควบคุม 16 เปอร์เซ็นต์ (p=0.004) สรุปผลการศึกษา : พบความหลากหลายทางพันธุกรรมของ LPL จำนวน 4 ชนิด รวมทั้ง Arg270Gly และ Arg432Thr ซึ่งไม่เคยมีรายงานมาก่อนในผู้ป่วยไทย ความหลากหลายทางพันธุกรรมเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุที่กระตุ้นให้ไทรกลีเซอไรด์ในผู้ป่วยกลุ่มนี้สูงมากได้ en_US
dc.description.abstractalternative Background: Severe hypertriglyceridemia often results from a combination of primary and secondary causes. Primary causes are genetic defects in triglyceride hydrolysis. We examined the genetic variants of the LPL gene, which encodes for lipoprotein lipase, a key enzyme in triglyceride hydrolysis in patients with severe hypertriglyceridemia. Methods: Patients with fasting triglyceride level ≥ 886 mg/dl (10 mM) on at least 2 occasions (N=90) and control subjects (N=100) who had fasting triglyceride level < 150 mg/dl without any lipid-lowering agent, matched for age and sex, were recruited. LPL variants were determined using standard DNA sequencing method. Results: In 90 cases of severe hypertriglyceridemia, two-thirds were male with the median age of 48 years (IQR: 40-56 years). Four non-synonymous variants of LPL in 10 patients were found in cases but none in control (p=0.002). The Ala98Thr and the Leu279Val variants have previously been shown to be associated with hypertriglyceridemia, whereas the Arg270Gly and the Arg432Thr variants are novel. Interestingly, the Ser474X polymorphism, which was previously reported to be a protective variant, was also found in 3 percent of hypertriglyceridemia versus sixteen percent in the control group (p=0.004). Conclusion: Four non-synonymous LPL variants including two novel variants (the Arg270Gly and the Arg432Thr) were found in Thai patients. These variants may predispose them to severe hypertriglyceridemia. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.582
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ไลโปโปรตีนไลเปส -- แง่พันธุศาสตร์ -- ความผันแปร en_US
dc.subject ภาวะระดับไทรกลีเซอไรด์สูงในเลือด en_US
dc.subject Lipoprotein lipase -- Genetic aspects -- Variation en_US
dc.subject Hypertriglyceridemia en_US
dc.title การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนไลโปโปรตีนไลเปสในผู้ป่วยที่มีไขมันไทรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีระดับไทรกลีเซอไรด์ปกติ en_US
dc.title.alternative Study of LPL gene variants in Thai patients with severe hypertriglyceridemia compared to normotriglyceridemia en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Weerapan.K@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2012.582


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record