DSpace Repository

ผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถแห่งตนร่วมกับโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีต่อสุขสมรรถนะในวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกิน

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิชิต คนึงสุขเกษม en_US
dc.contributor.author ทวิช พรหมพิทักษ์กุล en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา en_US
dc.date.accessioned 2015-08-21T09:30:29Z
dc.date.available 2015-08-21T09:30:29Z
dc.date.issued 2557 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44619
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 en_US
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถแห่งตนร่วมกับโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีต่อสุขสมรรถนะของวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกิน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชายและหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จากโรงเรียนสันติราษฎ์วิทยาลัยและโรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ อายุระหว่าง 14-15 ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 55 คน ที่มีความสมัครใจที่จะเข้าร่วมการวิจัย โดยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) และทำการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง คือ โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัยเป็นกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการออกกำลังกายร่วมกับการออกกำลังกาย และกลุ่มควบคุม คือ โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ เป็นกลุ่มที่มีการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว โดยทั้ง 2 กลุ่มทำการฝึกตามโปรแกรม เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน ผู้วิจัยทำการวัดระดับการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการออกกำลังกาย และทำการทดสอบสุขสมรรถนะ 5 รายการ ได้แก่ ค่าดัชนีมวลกาย นั่งงอตัว นอนยกตัว ดันพื้นและเดิน/วิ่ง 1.6 กิโลเมตร ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 10 สัปดาห์ นำผลที่ได้ มาวิเคราะห์ค่าทางสถิติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ทำการวิเคราะห์ความแตกต่างของข้อมูลภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติที (Paired t-test) และวิเคราะห์ความแตกต่างของข้อมูลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติที (Independent t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลอง 10 สัปดาห์ กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการรับรู้ความสามารถแห่งตนร่วมกับโปรแกรมออกกำลังกายและกลุ่มควบคุมที่ได้รับโปรแกรมออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว มีค่าเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการออกกำลังกาย และสุขสมรรถนะด้าน นั่งงอตัว นอนยกตัว ดันพื้นและเดิน/วิ่ง 1.6 กิโลเมตร แตกต่างกับก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยของดัชนีมวลกาย ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการทดลอง 10 สัปดาห์ กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการรับรู้ความสามารถแห่งตนร่วมกับโปรแกรมออกกำลังกายและกลุ่มควบคุมที่ได้รับโปรแกรมออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว มีค่าเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการออกกำลังกาย และสุขสมรรถนะด้าน ค่าดัชนีมวลกาย นั่งงอตัว นอนยกตัว ดันพื้นและเดิน/วิ่ง 1.6 กิโลเมตร ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การได้รับโปรแกรมการรับรู้ความสามารถแห่งตนร่วมกับโปรแกรมออกกำลังกายและการได้รับโปรแกรมออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการออกกำลังกายและสุขสมรรถนะไม่แตกต่างกัน en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this Quasi-experimental research design was to study an effect of self-efficacy program and exercise program for health-related fitness in overweight adolescent. The subjects were fifty-five male and female overweight students from Santiratwitthayalai School and Sriayudhya School, aged between 14-15 years. They were divided into 2 groups: the experimental group and the control group by using purposive sampling method. The experiment group from Santiratwitthayalai School participated in self-efficacy program together with exercise program while the control group from Sriayudhya School participated in exercise program only. The training program was 10 weeks and 3 days per week. Both groups were pretested and posttested for self-efficacy program in exercise and health-related fitness included body mass index, sit and reach test, abdominal curls, pushups and walk/run 1.6 km. The results were analyzed by using paired t-test and independent t-test within group and between groups respectively. The significant level was set at .05 level. The results were as follow : 1. After 10 weeks, there were significant higher average score of self-efficacy program in exercise and health related-fitness (sit and reach test, abdominal curls, pushups and walk/run 1.6 km) in the experimental group and the control group at the .05 level. 2. After 10 weeks, there were no significant differences of average score of self-efficacy program in exercise and health related-fitness (body mass index, sit and reach test, abdominal curls, pushups and walk/run 1.6 km) between the experimental group and the control group at the .05 level. It was concluded that self-efficacy program together with exercise program was not significantly different from exercise program only in promoting self-efficacy program in exercise. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.765
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject บุคคลน้ำหนักเกิน
dc.subject การออกกำลังกาย
dc.subject การรับรู้ตนเองในวัยรุ่น
dc.subject วัยรุ่น
dc.subject Overweight persons
dc.subject Exercise
dc.subject Self-perception in adolescence
dc.subject Adolescence
dc.title ผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถแห่งตนร่วมกับโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีต่อสุขสมรรถนะในวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกิน en_US
dc.title.alternative AN EFFECT OF SELF-EFFICACY PROGRAM AND EXERCISE PROGRAM ON HEALTH - RELATED FITNESS IN OVERWEIGHT ADOLESCENT en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์การกีฬา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Vijit.Ka@Chula.ac.th,acasi2003@yahoo.com en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2014.765


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record