Abstract:
การเพิ่มปริมาณเงินในระบบก่อให้เกิดอุปสงค์การนำเข้าเพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกของจีน สร้างเป็นความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนและประเทศในกลุ่มอาเซียนที่เรียกว่าห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งความต้องการในการนำเข้าวัตถุดิบการผลิตของจีนเพื่อผลิตต่อยอดเป็นสินค้าขั้นสุดท้าย ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ทั้งประเทศในกลุ่มอาเซียนเกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและจีนยังสามารถก้าวไปถึงเป้าหมายได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของนโยบายการเงินจีนต่อประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยวิเคราะห์ช่องทางการส่งผ่านของผลกระทบด้วยการวิเคราะห์เชิงพรรณนาและใช้วิธีการ Structural vectorautoregression (SVAR) ในการสร้างแบบจำลองที่เหมาะสมกับประเทศตัวอย่างในกลุ่มอาเซียน โดยผลการวิเคราะห์พบว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มปริมาณเงินของจีนทำให้ผลผลิตและราคาสินค้าในอาเซียนเพิ่มขึ้นผ่านช่องทางการค้า อันเนื่องมาจากการนำเข้าสินค้าจากประเทศในกลุ่มอาเซียนของจีน โดยมาเลเซียและไทยเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการเงินจีนมากที่สุด ด้วยโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่พึ่งพาการค้าระหว่างประเทศและส่งออกสินค้าในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งที่จีนมีอุปสงค์การนำเข้าสูง จึงทำให้ทั้งสองประเทศได้รับผลกระทบมากกว่าอินโดนีเซียและสิงคโปร์ที่มีโครงสร้างความสัมพันธ์ทางการค้ากับจีนในรูปแบบเดียวกัน ซึ่งสื่อความหมายให้ธนาคารกลางของประเทศในกลุ่มอาเซียนพึงตระหนักถึงความสำคัญของเศรษฐกิจและนโยบายการเงินจีนในการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต