DSpace Repository

ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ฐานและอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ เมื่อประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Show simple item record

dc.contributor.advisor เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล en_US
dc.contributor.advisor ประภาศ คงเอียด en_US
dc.contributor.author อุไรวรรณ แสนปาก en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2015-08-21T09:30:45Z
dc.date.available 2015-08-21T09:30:45Z
dc.date.issued 2557 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44650
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 en_US
dc.description.abstract การรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีวัตถุประสงค์หลัก คือ การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศนอกภูมิภาค ทำให้ประเทศสมาชิกมีความเข้มแข็ง ดังนั้น ฐานและอัตราที่ใช้ในการคำนวณภาษีสรรพสามิตรถยนต์ที่นำเข้าระหว่างกันในกลุ่มอาเซียน จึงควรใช้รูปแบบเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดแนวในการปฏิบัติร่วมกันเกี่ยวกับภาษีสรรพสามิตเพื่อการเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน โดยเฉพาะในเรื่องการใช้ฐานและอัตรา จึงอาจก่อให้เกิดการแข่งขันกันเอง และการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียน ที่มีนโยบายภาษีเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจมากกว่า ดังนั้น จึงควรกำหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเพิ่มเติมในเรื่องการใช้ฐานและอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์เพื่อใช้ร่วมกันในข้อตกลงการค้าสินค้าอาเซียน (ATIGA) ปัจจุบันสิ่งที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ที่ผลิตภายในประเทศไทย คือ ราคา ณ โรงอุตสาหกรรมและภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ ซึ่งยังมีปัญหา ในเรื่องการกำหนดราคา ณ โรงอุตสาหกรรม และความไม่เหมาะสมอีกหลายประการ ในขณะที่รถยนต์นำเข้านั้น ใช้ราคา CIFและอากรขาเข้าเป็นฐาน ซึ่งก็มีปัญหาเรื่องการสำแดงราคานำเข้าต่ำกว่าความเป็นจริง และผลที่จะเกิดจากการรวมกลุ่มคือ ประเทศสมาชิกจะลดอากรเข้าระหว่างกันเหลือ 0% อาจทำให้รายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตลดลงเนื่องจากอากรขาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของฐานที่ใช้ในการคำนวณภาษีสรรพสามิต ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบขึ้นระหว่างผู้ผลิตภายในประเทศและผู้นำเข้า และยังอาจส่งผลต่อผู้ผลิตภายในประเทศให้ย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังประเทศสมาชิกอื่นในอาเซียน จึงควรปรับฐานในการคำนวณภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ที่ผลิตภายในประเทศและรถยนต์นำเข้าให้เป็นฐานเดียวกัน โดยให้ใช้ราคาขายปลีก ซึ่งมีความเหมาะสมมากกว่าเป็นฐานในการคำนวณ และควรเปลี่ยนวิธีคำนวณจากการใช้อัตราแบบรวมในที่มีภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระรวมอยู่ด้วยมาเป็นแบบแยกนอกแทน เพื่อให้เกิดความชัดเจนขึ้น สะดวก และเป็นธรรมมากขึ้น นอกจากนี้ การจำแนกประเภทและอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ของไทยยังมีความซับซ้อน ยุ่งยากในการวางแผนเพื่อกำหนดต้นทุนทางภาษี จึงมักเกิดปัญหาการตีความที่แตกต่างกันระหว่างผู้เสียภาษีและผู้จัดเก็บภาษีและแต่ละประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนก็มีการจำแนกประเภทรถยนต์และกำหนดอัตราแตกต่างกัน จึงควรกำหนดหลักเกณฑ์ในการจำแนกประเภทรถยนต์และอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น รถยนต์ที่มีลักษณะการใช้งานที่คล้ายคลึงกัน ควรเสียภาษีในอัตราเดียวกัน เพื่อทำให้ระบบภาษีสรรพสามิตมีความง่ายและสะดวกมากขึ้น สำหรับการนำเข้ารถยนต์จากประเทศนอกกลุ่มอาเซียน ขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับภาษีสรรพสามิต โดยเฉพาะเรื่องการใช้ฐานและอัตราในการคำนวณภาษี จึงควรศึกษาเพื่อกำหนดอัตราภาษีศุลกากรสำหรับรถยนต์ที่นำเข้าจากประเทศนอกกลุ่มอาเซียนเพื่อหาทางกำหนดอัตราให้สูงกว่าอัตราที่ใช้กับรถยนต์ที่นำเข้าจากประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยอาศัยข้อยกเว้นตามข้อ 24 ของแกตต์ และอัตราที่กำหนดนี้ควรใช้บังคับกับประเทศนอกกลุ่มอาเซียนอย่างเท่าเทียมกันทุกประเทศ เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน en_US
dc.description.abstractalternative The objective of the integration of the ASEAN Economic Community is to be the identical market and production base, in order to empower in competition with non-ASEAN countries as well as to increase the ability of member countries. Therefore, base rate used to calculate the excise tax on automobile importation in ASEAN should be same or similar standard. Currently, the common practice in the excise tax for identical market and production base has not been determined yet, especially the use of the base rate, this will cause the competition between the countries in ASEAN or probably move the production base to other ASEAN countries in which has the tax policy benefiting to business purposes, hence it is necessary to establish as well as share the rules and guidelines regarding the use of the base and rate of automobile tax for the ASEAN Trade in Goods Agreement (ATIGA). Currently, the base used to calculate automobile tax in Thailand is industrial price and appropriate excise taxes. The problems are about industrial pricing and several improprieties during importation of automobile such as the declared CIF price use to calculate the import duty is lower than market price and the effects of integration which would have reduced to zero percent of import duty probably make revenues from excise tax dropped since the import duty is the part of the base used to calculate the excise tax then cause either advantage or disadvantage between domestic manufacturers and importers and this might actuate domestic manufacturers to move production base from Thailand to other countries in the region. In addition, the assortment and automobile tax of Thailand are still complicated and difficult to do the capital forecast leading different understanding between taxpayers and levier. Hence, the base for automobile tax calculation for both domestic production and importation should be the same base by using the retail price for calculation, also to change the calculation method from the rates in combination which included appropriate excise tax becomes a separate calculation instead in order to make more clear, convenient and fair. So that, the excise tax rate presumably be adjusted in higher level to compensate for state revenues that could be lost. Regarding the assortment and automobile tax, the rules should established to be more clear, automobiles in same or similar operation type should be taxed at the same rate in order to make a excise tax system simple and more convenient. As for importation of automobiles from non-ASEAN countries, there is no rule establishment on excise duty so far, in particular the use of the base and the rate for tax calculation. Therefore, we need to study and then establish the customs tariffs for imported automobile from non-ASEAN countries at higher level than imported from ASEAN countries virtue of the exemption under Article 24 of GATT. Such rate should be also obligated for non-ASEAN countries justly for achieving the objective of ASEAN Economic Community eventually. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ฐานและอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ เมื่อประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน en_US
dc.title.alternative Problems Related to the Application of Thai Excise Tax Bases and Tax Rates on Motor Vehicle for the Upcoming ASEAN Economic Community en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline กฎหมายการเงินและภาษีอากร en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Aua-Aree.E@Chula.ac.th,a_aree1079@yahoo.com,aengchanil@gmail.com en_US
dc.email.advisor Prapas.k@hotmail.com en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record