DSpace Repository

การศึกษาเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักของตนเองและผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักคนชรา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Show simple item record

dc.contributor.advisor บุรณี กาญจนถวัลย์
dc.contributor.author ศิริรำไพ สุวัฒนคุปต์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2015-08-24T08:43:42Z
dc.date.available 2015-08-24T08:43:42Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44737
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ในรูปแบบของการเปรียบเทียบ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ และปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักของตนเองและผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักคนชรา เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในบ้านพักของตนเองและผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในบ้านพักคนชราธรรมปกรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มละ 85 คน ดังนั้นจึงศึกษาผู้สูงอายุรวมทั้งสิ้น 170 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่อเนื่อง (ดัชนีจุฬาเอดีแอล: Chula ADL Index; CAI) 3) แบบสอบถามวัดเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตภายใน 1 ปีที่ผ่านมา (Life Stress Event) 4) แบบวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุของไทย (Thai Geriatric Depression Scale: TGDS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-Square, t-test, และ Logistic Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราและผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักของตนเอง มีความชุกของภาวะซึมเศร้าต่างกันชัดเจน โดยพบว่าผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักคนชรามีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 42.4 และผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักของตนเองมีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 7.1 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของภาวะซึมเศร้าพบว่า ผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักคนชรามีค่าคะแนนภาวะซึมเศร้าสูงกว่ากลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักของตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.001 ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าเมื่อวิเคราะห์เฉพาะกลุ่ม พบว่า ในกลุ่มผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราพบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า 5 ปัจจัย คือ อายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป, สถานภาพโสด/หม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่, รายได้ไม่เพียงพอ, มีภาวะพึ่งพิงทั้งหมด และไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ในกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักของตนเอง พบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า 2 ปัจจัย คือ รายได้ไม่เพียงพอ และมีเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตระดับปานกลางถึงสูง ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุทั้ง 2 กลุ่ม ได้แก่ ไม่มีรายได้ประจำเป็นของตนเอง (OR = 8.840, 95%CI = 3.379 - 23.130), ความไม่เพียงพอของรายได้ (OR = 2.624, 95%CI = 1.155 – 5.964) และไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม (OR = 3.348, 95%CI = 1.012 - 11.079) จากการวิจัยสรุปได้ว่าผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักคนชรามีภาวะซึมเศร้ามากกว่าผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักของตนเอง ซึ่งการทราบปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยทำนายจะสามารถวางแผนแนวการเฝ้าระวังส่งเสริมป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ และให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสมต่อไป en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this cross – sectional analytic study was to study and compare depression and factors associated with depression in the elderly living in own home and the elderly living in home for the aged. Data were collected from 85 elderly patients living in own home and 85 elderly living in home for the aged. This study used measurement tools consisted of 1) The general information questionnaire 2) Chula ADL Index; CAI 3) Life Stress Event 4) Thai Geriatric Depression Scale: TGDS. The data were analyzed using descriptive statistics, Chi-Square, t-test and Logistic Regression Analysis The results revealed that the elderly living in home for the aged and the elderly living in own home had different prevalence of depression. It was found that the elderly living in home for the aged had depression about 42.4% and the elderly living in own home had depression about 7.1%. Furthermore, the elderly living in home for the aged had a higher level of depression than the elderly living in own home which was statistically significant (P <0.001). There are 5 factors correlated to depression in the elderly living in home for the aged; age above 75 years, status: single/ widowed/ divorced/ separated, insufficient income, totally dependent state and absence in social activities. Also, there are 2 factors correlated to depression in the elderly living in own home; insufficient income and having moderate to high life stress event. The predictors of depression both groups of elderly were no own regular income (OR = 8.840, 95%CI = 3.379 - 23.130), insufficient income (OR = 2.624, 95%CI = 1.155 – 5.964) and absence in social activities (OR = 3.348, 95%CI = 1.012 – 11.079). The elderly living in home for the aged had higher prevalence and level of depression than the elderly living in own home. This study found the risk factors and the predictors factors to which the surveillance plan and prevent depression in the elderly and assistance as appropriate. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1598
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ en_US
dc.subject บ้านพักคนชรา -- แง่จิตวิทยา en_US
dc.subject ผู้สูงอายุ -- จิตวิทยา en_US
dc.subject Depression in old age en_US
dc.subject Old age homes -- Psychological aspects en_US
dc.subject Older people -- Psychology en_US
dc.title การศึกษาเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักของตนเองและผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักคนชรา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ en_US
dc.title.alternative A comparison study of depression between the elderly living in own home and the elderly living in home for the aged, Mueang District, Chiang Mai en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สุขภาพจิต en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Buranee.K@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2012.1598


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record