Abstract:
แสงสว่างเป็นองประกอบที่สำคัญในการออกแบบปรับปรุงอาคารประวัติศาสตร์เพื่อรองรับประโยชน์ใช้สอยใหม่ โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพึ้นที่ใช้สอยมาเป็นห้องจัดแสดงงาน หรือพิพิธภัณฑ์ ซึ่งนอกจากจะจัดให้แสงสว่างมีปริมาณที่เหมาะสม และไม่เป็นอันตรายต่อวัตถุจัดแสดงแล้ว ยังจำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพแสงสว่างทำให้ผู้ชมงานสามารถเห็นชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม งานวิจัยนี้มีวัถุประสงค์เพื่อการสำรวจ วิเคราะห์และประเมินผลการใช้แสงธรรมชาติ ศึกษาเทคนิคทางด้านการให้แสงสว่างธรรมชาติกับพิพิธภัณฑ์แห่งชาติหลวงพระบาง ประเทศลาว โดยศึกษาการใช้แสงธรรมชาติและแสงประดิษฐ์ในพึ้นที่ 6 แห่งของพิพิธภัณฑ์ได้แก่ กรมพิธีการ (โถง) ห้องรับแขกของเจ้ามหาชีวิต ห้องรับแขกของพระมเหสี ห้องท้องพระโรง ห้องบรรทม ห้องจัดแสดงเครื่องดนตรี ซึ่งเน้นที่รูปแบบการให้แสงสว่าง โดยทำการสำรวจอาคาร วัดความส่องสว่างภายในห้องจัดแสดงด้วย lux meter ในวันที่ 14 และ 21 และ 28 ธ.ค. 2555 ในช่วงเวลา 10:00 น. และ 14:00 น. และบันทึกปริมาณความส่องสว่างสะสมที่ชิ้นงานตามแนวตั้งเป็นระยะเวลา 30 วัน ในวันที่ 1-30 ธ.ค 2555 แล้วนำมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับ มาตรฐาน CIBSE และทำการจำลองการออกแบบแนวทางการใช้แสงธรรมชาติในโปรแกรม Dialux 4.10 และเสนอแนะแนวทางการใช้แสงธรรมชาติที่เหมาะสมให้กับพิพิธภัณฑ์ ผลจากการศึกษาพบว่า เนื่องจากอาคารไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ตั้งแต่แรก ทำให้แสงสว่างที่ใช้ภายใน ห้องจัดแสดงโดยรวมแล้ว ไม่เหมาะสมสำหรับการจัดแสดง แสงสว่างโดยรอบของห้องจัดแสดงไม่สม่ำเสมอ เมื่อนำมาเปรียบเทียบปริมาณความส่องสว่างตามมาตรฐานแล้ว ห้องจัดแสดงส่วนใหญ่มีค่าความส่องสว่างสูงกว่าเกณฑ์ แต่มีบางห้องที่มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ของ CIBSE และยังมีปริมาณความส่องสว่างสะสมที่ชิ้นงานต่อชั่วโมงโดยเฉลี่ยมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน นอกจากนี้ยังพบอีกว่าในห้องจัดแสดงเกือบทั้งหมดมีวัตถุที่แสงสว่างส่งผลกระทบสูง วัตถุที่แสงสว่างส่งผลกระทบปานกลาง และวัตถุที่แสงสว่างส่งผลกระทบน้อยปะปนกันอยู่ทำให้มีปัญหาในการใช้แสงในพิพิธภัณฑ์ ดังนั้นจึงเสนอแนะแนวทางเลือกในการปรับปรุงประสิทธิภาพแสงสว่างให้มีค่าเหมาะสมตามมาตรฐาน ชึ่งมุ่งเน้นที่ในการปรับลดความส่องสว่าง และปริมาณความส่องสว่างสะสมที่ชิ้นงานโดยเทคนิคในการให้แสงสว่าง ซึ่งยังคงลักษณะการใช้งานภายในอาคาร และรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบเดิม โดยการปรับลดช่องเปิด ติดฟล์มกรองแสงหรือติดผ้าม่านเพื่อให้แสงธรรมชาติที่ช่องเข้ามาเป็นแสงสท้อน โดยคำนึงถึงการอนุรักษ์และการมองเห็นวัตถุจัดแสดง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมความหมายและลักษณะสำคัญของอาคารที่รองรับการจัดแสดงได้อย่างเหมาะสม