DSpace Repository

The expression of prostaglandin E2 receptors (EP2 and EP4) and the proportion of extracellular matrix in cervix of cyclic bitches and bitches with pyometra

Show simple item record

dc.contributor.advisor Kaywalee Chatdarong
dc.contributor.advisor Sudson Sirivaidyapong
dc.contributor.advisor Sayamon Srisuwatanasagul
dc.contributor.author Pichanun Linharattanaruksa
dc.contributor.other Chulalongkorn University. Faculty of Veterinary Science
dc.date.accessioned 2015-09-08T08:13:25Z
dc.date.available 2015-09-08T08:13:25Z
dc.date.issued 2012
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45100
dc.description Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2012 en_US
dc.description.abstract Exp. I aimed to determine the proportion of collagen and smooth muscle using Masson’s trichrome staining and Alcian blue staining was used to evaluate the relative distribution of cervical GAGs. The proportion of cervical collagen relative to cervical smooth muscle was higher at estrus compared to anestrus (p ≤ 0.05). It was also higher (p ≤ 0.05) in bitches with open- compared to those with closed-cervix pyometra. Overall, hyaluronan (HA) was the predominant GAG in the canine cervix and there were no differences in GAG composition in the stroma of healthy bitches and in the luminal epithelium and muscle of bitches with pyometra. In the luminal epithelium, HA was higher in estrus than in anestrus (p ≤ 0.05) but not in diestrus (p > 0.05). On the contrary, the combined keratan sulfate (KS) and heparan sulfate (HS) content was higher in anestrus than estrus (p ≤ 0.05). In bitches with pyometra, the combined KS and HS content was significantly lower in open- compared to closed-cervix pyometra (p ≤ 0.05). Collectively, the different profiles of collagen and GAG observed at different stages of the estrous cycle as well as in pyometra suggest that the metabolism of both collagens and GAGs in the canine cervix is associated with hormonal statuses during the estrous cycle and cervical patency of bitches with pathological uterine conditions such as pyometra. Exp. II aimed to investigate the expression of EP4 in the cervices of bitches during estrous cycle and those with pyometra. The expression of EP4 was observed at all the layers and all stages but the differences in EP4 expression either among bitches in different stages of the estrous cycle and between open- and closed-cervix pyometra were limited to only luminal epithelium (LE). In cyclic bitches during estrus and in open-cervix pyometra bitches, significantly higher EP4 expression was found in SE of uterine part than vaginal part. In SE of the uterine part, the expression was higher in the bitches during estrus than in anestrus and diestrus, and higher in the bitches affected by open-cervix than closed-cervix pyometra. The results suggest that regulation of cervical dilation appeared in the uterine part of the cervix. Moreover, EP4 may be involved in stimulating dilation of the cervix in both estrus and open-cervix pyometra bitches. Exp. III aimed to investigate mRNA expressions of EP2, EP4, COX-2, and PGES in the bitch cervix. Two groups of bitches; normal cyclic bitches and bitches with pyometra were studied. RNA extracted from cervical tissue was determined for levels of EP2, EP4, COX-2, and PGES mRNA using a real-time qPCR. Western blot was performed to investigate the protein expression of EP2, EP4, and COX-2There were no differences of EP2, EP4, COX-2, and PGES mRNA expression in the bitch cervix among the stages of the estrous cycle. However, the expression of PGES mRNA was higher in the cervix of bitches with open-cervix than closed-cervix pyometra (P<0.05). However, the differences of protein expression were not observed in both normal cyclic bitches and bitches with pyometra. Our findings suggest that mRNA and protein expression of the enzymes involved in PGE2 synthesis and PGE2 receptors are not influenced by hormonal status during the estrous cycle whereas PGES mRNA expression is likely associated with cervical relaxation in the bitches with pyometra. en_US
dc.description.abstractalternative การทดลองที่1 แบ่งกลุ่มสุนัขเป็น 2 กลุ่มการทดลอง กลุ่มที่ 1 เก็บตัวอย่างคอมดลูกจากสุนัขปกติในแต่ละระยะของวงรอบการเป็นสัด จำแนกเป็น 3 ระยะ ได้แต่ แอนเอสตรัส โปรเอสตรัส และไดเอสตรัส จำนวน 10, 7 และ 11 ตัวตามลำดับ กลุ่มที่ 2 เก็บตัวอย่างคอมดลูกจากสุนัขที่มีปัญหามดลูกอักเสบเป็นหนองจำนวน 26 ตัว จำแนกเป็น สุนัขที่มีปัญหามดลูกอักเสบเป็นหนองแบบคอมดลูกเปิดจำนวน 18 ตัว และสุนัขที่มีปัญหามดลูกอักเสบแบบคอมดลูกปิดจำนวน 8 ตัว ตรวจการเปลี่ยนแปลงของอัตราส่วนของเอกซ์ทราเซลลูลาร์ เมทริกซ์ด้วยวิธี Masson’s trichrome staining เพื่อดูอัตราส่วนของคอลลาเจนกับกล้ามเนื้อเรียบในคอมดลูก และวิธี Alcian blue staining เพื่อตรวจปริมาณของไกลโคอะมิโนไกลแคนแต่ละชนิดในคอมดลูก จากผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนของคอลลาเจนต่อกล้ามเนื้อในคอมดลูกของสุนัขในระยะเอสตรัสมีอัตราส่วนสูงกว่าระยะแอนเอสตรัสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้น ในกลุ่มมดลูกอักเสบเป็นหนองแบบคอมดลูกเปิดมีค่าอัตราส่วนสูงมากกว่าในกลุ่มสุนัขที่มีปัญหามดลูกอักเสบแบบคอมดลูกปิด จากการทดลอง พบว่าปริมาณของไกลโคอมิโนไกลแคนแต่ละชนิดแตกต่างกันในคอมดลูกแต่ละระยะ และพบว่าไฮยาลูโรแนนเป็นองค์ประกอบที่พบมากสุดในคอมดลูกสุนัขปกติ และพบมากในเยื่อบุผิวชั้นในของคอมดลูกในสุนัขระยะเอสตรัสเมื่อเทียบกับระยะแอนเอสตรัสแต่ไม่แตกต่างจากระยะไดเอสตรัส ในทางตรงกันข้ามกลับพบว่า ปริมาณของเคอราแทน ซัลเฟตและเฮปาแรน ซัลเฟตในคอมดลูกจากระยะแอนเอสตรัสสูงกว่าระยะเอสรัจสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในกลุ่มสุนัขที่มีปัญหามดลูกอักเสบพบว่า ปริมาณเคอราแทน ซัลเฟตและเฮปาแรน ซัลเฟตในกลุ่มคอมดลูกเปิดมีค่าน้อยกว่าในกลุ่มคอมดลูกปิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าเมทาบอลิซึมของคอลลาเจนและไกลโคอมิโนไกลแคนในคอมดลูกสุนัขมีความเกี่ยวข้องกับระดับฮอร์โมนในแต่ละระยะของวงรอบการเป็นสัดและการเปิดปิดของคอมดลูกในสุนัขที่เป็นมดลูกอักเสบเป็นหนอง การทดลองที่2 แบ่งกลุ่มสุนัขเป็นสองกลุ่มการทดลอง กลุ่มที่1 เก็บตัวอย่างคอมดลูกจากสุนัขปกติในแต่ละระยะของวงรอบการเป็นสัด จำแนกเป็น 3 ระยะ ได้แต่ แอนเอสตรัส โปรเอสตรัส และไดเอสตรัส จำนวน 6, 12 และ 6 ตัว ตามลำดับ กลุ่มที่ 2 เก็บตัวอย่างคอมดลูกจากสุนัขที่มีปัญหามดลูกอักเสบเป็นหนองจำนวน 26 ตัว จำแนกเป็น สุนัขที่มีปัญหามดลูกอักเสบเป็นหนองแบบคอมดลูกเปิดจำนวน 10 ตัว และสุนัขที่มีปัญหามดลูกอักเสบแบบคอมดลูกปิดจำนวน 10 ตัว ตรวจการแสดงออกของตัวรับพรอสตาแกลนดินอี2 ซับไทป์4 (EP4) ด้วยวิธี avidin-biotin-peroxidase complex (ABC) และคำนวณคะแนนของตัวรับพรอสตาแกลนดิน ผลการศึกษาพบว่า การแสดงออกของตัวรับ EP4 พบได้ในทุกชั้นเนื้อเยื่อของคอมดลูกสุนัขทั้งในสุนัขปกติและสุนัขที่มีปัญหามดลูกอักเสบเป็นหนอง แต่ความแตกต่างของการแสดงออกของตัวรับ EP4 พบแค่ในชั้นเยื่อบุผิวชั้นในสุด โดยพบว่า การแสดงออกของตัวรับ EP4 ในเยื่อบุผิวชั้นในส่วนที่ติดกับมดลูกในคอมดลูกจากสุนัขระยะเอสตรัสจะมีคะแนนมากกว่าในระยะแอนเอสตรัสและไดเอสตรัส รวมถึงในกลุ่มสุนัขที่มีปัญหามดลูกอักเสบเป็นหนองแบบคอมดลูกเปิดที่มีคะแนนของการแสดงออกตัวรับ EP4 มากกว่าสุนัขที่มีปัญหามดลูกอักเสบเป็นหนองแบบคอมดลูกปิด จากผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเปิดปิดของคอมดลูกน่าจะอยู่ที่ส่วนที่ใกล้กับมดลูกและ ตัวรับ EP4 อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลไกลการเปิดปิดของคอมดลูกในแต่ละระยะของวงรอบการเป็นสัดรวมถึงในสุนัขที่มีปัญหามดลูกอักเสบเป็นหนองเช่นกัน การทดลองที่3 พรอสตาแกลนดินมีความสำคัญในการควบคุมการเปิดปิดของคอมดลูก การผลิตพรอสตาแกลนดินอี2 (PGE2) ควบคุมโดย เอนไซม์ไซโคลออกซีจิเนส (COX) และ พรอสตาแกลนดินอี ซินเทส (PGES) พรอสตาแกลนดินอี2 ทำงานผ่านการจับกับตัวรับฮอร์โมนพรอสตาแกลนดินอี2 (EP) ซับไทป์ EP2 และ EP4 ทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อ ในการศึกษาครังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาระดับการแสดงออกของเมสเซนเจอร์อาร์เอ็นเอ คือ EP2 EP4 COX-2 และ PGES ในคอมดลูกของสุนัขระยะต่าง ๆ ของวงรอบการเป็นสัด และในสุนัขที่มีปัญหามดลูกเป็นหนอง เก็บคอมดลูกจากช่องเปิดด้านในถึงช่องเปิดด้านนอกหลังการทำหมันโดยตัดรังไข่และมดลูกออก สกัดอาร์เอ็นเอจากเนื้อเยื่อคอมดลูกแล้วนำมาตรวจหาระดับการแสดงออกของ EP2 EP4 COX-2 และ PGES ด้วยวิธี quantification real-time PCR (qPCR) นอกจากนั้นยังศึกษาการแสดงออกของโปรตีนด้วยวิธี western blot จากการศึกษาพบว่า การแสดงออกของเมสเซนเจอร์อาร์เอ็นเอที่สนใจไม่มีความแตกต่างกันในสุนัขในแต่ละระยะของวงรอบการเป็นสัด แต่การแสดงออกของเมสเซนเจอร์อาร์เอ็นเอของ PGES ในกลุ่มสุนัขที่มีปัญหามดลูกเป็นหนองแบบคอมดลูกเปิดมีค่ามากกว่าในกลุ่มคอมดลูกปิด (p<0.05) นอกจากนั้น การแสดงออกของโปรตีนของ EP2 EP4 และ COX-2 ไม่แตกต่างกันในแต่ละระยะของการเป็นสัด และในกลุ่มที่เป็นมดลูกอักเสบเป็นหนอง ดังนั้น ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละระยะของวงรอบการเป็นสัด น่าจะไม่มีผลต่อการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพรอสตาแกลนดินอี2 และตัวรับฮอร์โมนพรอสตาแกลนดินอี2 ซับไทป์ 2 และ 4 แต่ PGES น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลไกการเปิดของคอมดลูกในสุนัขที่มีปัญหามดลูกเป็นหนองแบบคอมดลูกเปิด en_US
dc.language.iso en en_US
dc.publisher Chulalongkorn University en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.226
dc.rights Chulalongkorn University en_US
dc.subject Cervix uteri en_US
dc.subject Estrus en_US
dc.subject Dogs -- Diseases en_US
dc.subject สุนัข -- โรค en_US
dc.subject คอมดลูก en_US
dc.subject การเป็นสัด en_US
dc.subject ปริญญาดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.title The expression of prostaglandin E2 receptors (EP2 and EP4) and the proportion of extracellular matrix in cervix of cyclic bitches and bitches with pyometra en_US
dc.title.alternative การแสดงออกของตัวรับโพรสตาแกลนดินอี 2 (ซับไทป์ 2 และ 4) และอัตราส่วนของเอกซ์ทราเซลลูลาร์ เมทริกซ์ ในคอมดลูกสุนัขที่ระยะต่างๆ ของวงรอบการเป็นสัด และในสุนัขที่มีปัญหามดลูกอักเสบเป็นหนอง en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name Doctor of Philosophy en_US
dc.degree.level Doctoral Degree en_US
dc.degree.discipline Theriogenology en_US
dc.degree.grantor Chulalongkorn University en_US
dc.email.advisor Kaywalee.C@Chula.ac.th
dc.email.advisor s_sudson@yahoo.com
dc.email.advisor Sayamon.S@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2012.226


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record