DSpace Repository

การแปลงความต้องการความมั่นคงเป็นแผนภาพยูสเคสและแผนภาพลำดับโดยใช้ไวยากรณ์ความมั่นคงและเมทาดาตาความมั่นคง

Show simple item record

dc.contributor.advisor นครทิพย์ พร้อมพูล
dc.contributor.author นิรัติศัย ทิฆัมพรพิทยา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2015-09-10T01:55:04Z
dc.date.available 2015-09-10T01:55:04Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45123
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract การกำหนดความต้องการด้านความมั่นคงเป็นส่วนสำคัญสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ในปัจจุบัน ความต้องการมักอยู่ในรูปแบบของภาษาธรรมชาติซึ่งมักจะมีความกำกวม และขัดแย้งกัน ดังนั้นหากมีกลไกในการสกัดความต้องการความมั่นคงให้อยู่ในรูปของภาษากึ่งรูปนัย ซึ่งจะช่วยทำให้ได้ความต้องการด้านความมั่นคงที่มีความชัดเจนมากขึ้นและเหมาะสมกับการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอกฎในการแปลงความต้องการด้านความมั่นคงให้อยู่ในรูปแบบของภาษากึ่งรูปนัยที่เหมาะสมสำหรับการออกแบบพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยเลือกใช้ภาษายูเอ็มแอลได้แก่ แผนภาพยูสเคสและแผนภาพลำดับ ในการแสดงฟังก์ชันการทำงานทางด้านความมั่นคงของซอฟต์แวร์และพฤติกรรมระหว่างของออบเจคที่จะตอบสนองตามฟังก์ชันงาน โดยใช้การวิเคราะห์ภาษาธรรมชาติที่อยู่ในรูปของไวยากรณ์ความมั่นคงควบคู่กับเมทาดาตาความมั่นคงทั้งหมดจำนวน 20 แบบรูป และทำการสกัดข้อมูลตามองค์ประกอบของแต่ละแผนภาพเพื่อสร้างแผนภาพทั้งสอง นอกจากนี้ได้ทำการพัฒนาเครื่องมือสนับสนุนเพื่อประยุกต์ใช้กฎการแปลงในการกำหนดความต้องการความมั่นคง ช่วยทำให้ย่นเวลาในการระบุความต้องการความมั่นคงและการออกแบบแผนภาพยูเอ็มแอลในส่วนของแผนภาพยูสเคสและแผนภาพลำดับ การประเมินความถูกต้องของแผนภาพยูสเคสและแผนภาพลำดับที่เป็นผลลัพธ์จากกฎการแปลงนั้น ได้มีความถูกต้องทั้งในเชิงวากยสัมพันธ์และความหมาย รวมถึงความครบถ้วนของความต้องการที่ผู้ใช้กำหนด พบว่าแผนภาพยูสเคสและแผนภาพลำดับนั้นมีความถูกต้องครบถ้วน เป็นไปตามกระบวนงานที่ระบุในแบบรูปความต้องการความมั่นคง en_US
dc.description.abstractalternative At the present time, the security requirements are crucial for the development of software. Requirements are usually in the form of natural language that is often ambiguous and conflict. Then if there is a mechanism to extract the security requirements in the form of a semi-formal language, this will make security requirements more clear and appropriate to the design and development of software. This thesis aims to introduce rules to convert the security requirements in the form of natural language to a semi-formal language which are suitable for the development of software. UML has been selected, including use case diagrams and sequence diagrams, to demonstrate the functionality of the software and the interaction behavior of objects to perform according to the security requirements. Both diagrams are constructed from analyzing security requirements in the form of natural language syntax coupled with security metadata, from 20 patterns, and extract the component structure of use case diagrams and sequence diagrams. In addition, the development of tools to support the application of rules to specify the security requirements help shorten the time to identify security requirements and to design UML diagrams in terms of use case diagrams and sequence diagrams. The correctness of the use case diagram and sequence diagram generated from our proposed rules are evaluated in both syntax and semantic criteria. In addition, the conformness to user requirements is assessed as well. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ยูสเคส (วิศวกรรมระบบ) en_US
dc.subject วิศวกรรมความต้องการ en_US
dc.subject ยูเอ็มแอล (วิทยาการคอมพิวเตอร์) en_US
dc.subject Use cases (Systems engineering) en_US
dc.subject Requirements engineering en_US
dc.subject UML (Computer science) en_US
dc.title การแปลงความต้องการความมั่นคงเป็นแผนภาพยูสเคสและแผนภาพลำดับโดยใช้ไวยากรณ์ความมั่นคงและเมทาดาตาความมั่นคง en_US
dc.title.alternative Transformation of security requirements into use case diagram and sequence diagram using security grammar and security metadata en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline วิศวกรรมซอฟต์แวร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Nakornthip.S@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record