DSpace Repository

ผลของกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธที่มีต่อการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตนและการเผชิญปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
dc.contributor.author วิมลรัตน์ ปฏิพัทธ์วุฒิกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2015-09-11T08:13:11Z
dc.date.available 2015-09-11T08:13:11Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45187
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธต่อการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตนและการเผชิญปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วยการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 32 คน เป็นเพศชาย 5 คน และเพศหญิง 27 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน ระยะเวลาดำเนินกลุ่มประมาณ 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตน แบบวัดการเผชิญปัญหาและกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าที(t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ในกลุ่มทดลอง ค่าคะแนนเฉลี่ยการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตนของนักเรียนในระยะหลังการทดลองสูงกว่าค่าคะแนนเฉลี่ยในระยะก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.05) 2. ในกลุ่มทดลอง ค่าคะแนนเฉลี่ยการเผชิญปัญหาด้านบวกของนักเรียนในระยะหลังการทดลองสูงกว่าค่าคะแนนเฉลี่ยในระยะก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.05) 3. ในกลุ่มทดลอง ค่าคะแนนเฉลี่ยการเผชิญปัญหาด้านลบของนักเรียนในระยะหลังการทดลองไม่แตกต่างจากค่าคะแนนเฉลี่ยในระยะก่อนทดลอง(p<.05) 4. เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ค่าคะแนนเฉลี่ยการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตน ค่าคะแนนเฉลี่ยการเผชิญปัญหาด้านบวก และค่าคะแนนเฉลี่ยการเผชิญปัญหาด้านลบของนักเรียนในระยะหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน(p<.05) en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to study the effect of Buddhist Personal Growth and Counseling group on personal growth initiative and coping of high school students through quasi-experimental with pretest-posttest control group design. Thirty-two high school students (5 males, 27 females) were assigned to experimental groups and control groups (8 students per group). Duration of the group participation was about 12 hours in total. Instruments were Personal Growth Initiative Scale and Coping Scale. Dependent t-test and independent t-test statistics were used for data analysis. Findings revealed: 1. In experimental group, average score on personal growth initiative of the students in posttest was significantly higher than those pretest scores (p<.05). 2. In experimental group, average score on positive coping of the students in posttest was significantly higher than the pretest scores (p<.05). 3. In experimental group, average score on negative coping of the students in posttest did not significantly differ from the pretest scores (p<.05). 4. There were no significant difference on the posttest average scores of personal growth initiative, positive coping, and negative coping between the experimental group and the control group (p<.05). en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1291
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การปรับตัว (จิตวิทยา) en_US
dc.subject จิตวิทยาการปรึกษา en_US
dc.subject จิตวิทยากับศาสนา en_US
dc.subject การให้คำปรึกษา en_US
dc.subject การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม en_US
dc.subject การแก้ปัญหาในวัยรุ่น en_US
dc.subject Counseling psychology en_US
dc.subject Psychology and religion en_US
dc.subject Counseling en_US
dc.subject Group counseling en_US
dc.subject Problem solving in adolescence en_US
dc.subject Adjustment (Psychology) en_US
dc.title ผลของกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธที่มีต่อการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตนและการเผชิญปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย en_US
dc.title.alternative The effect of Buddhist personal growth and counseling group on personal growth initiative and coping of high school students en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline จิตวิทยา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor atuicomepee@gmail.com
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2012.1291


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record