DSpace Repository

ประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธมือใหม่

Show simple item record

dc.contributor.advisor ณัฐสุดา เต้พันธ์
dc.contributor.author ณัฐนลิน คำสำเภา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2015-09-12T03:37:23Z
dc.date.available 2015-09-12T03:37:23Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45244
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธมือใหม่ โดยมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 11 ราย (หญิง 8 รายและชาย 3 ราย) เป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกจากสาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และให้บริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธนับตั้งแต่จบการศึกษาเป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้วิจัยเป็นผู้เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล เครื่องมือวิจัยได้แก่ แนวทางการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา ผลการวิจัยพบประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธมือใหม่ 3 ประเด็นหลัก คือ ประเด็นแรกความยากลำบากที่เผชิญและแนวทางแก้ไขซึ่งเป็นสภาวะ ความยากลำบาก ปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่นักจิตวิทยาการปรึกษามือใหม่ได้ประสบในการปฏิบัติงานวิชาชีพ รวมถึงการมีวิธีจัดการแก้ไขต่อปัญหาและความยากลำบากเหล่านั้น ประเด็นที่สองการรับรู้ตนเองผ่านประสบการณ์ทางวิชาชีพ ซึ่งนักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธมือใหม่รู้สึกปิติและภูมิใจที่ได้ทำงานวิชาชีพ และมองว่าวิชาชีพที่ตนปฏิบัติเป็นวิถีที่สอดคล้องไปกับการงานและการดำรงชีวิต และประเด็นที่สาม การพัฒนาตนผ่านประสบการณ์ทางวิชาชีพ ที่นักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธมือใหม่เมื่อได้ผ่านประสบการณ์การทำงานรวมถึงประสบการณ์การใช้ชีวิตของตนแล้ว ประสบการณ์ตรงนี้ได้ก่อให้เกิดการพัฒนาตนเองทั้งภายในและภายนอกส่งผลต่อสัมพันธภาพกับบุคคลรอบตัวขึ้น กล่าวโดยสรุป นักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธมือใหม่ เมื่อได้ผ่านประสบการณ์ในการทำงานและการใช้ชีวิต รวมถึงผ่านอุปสรรคปัญหาต่างๆ จะมีมุมมองต่อตนเองอย่างปิติภูมิใจในการเดินทางบนเส้นทางการเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ พร้อมทั้งมีการเติบโตภายใน อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตนเองและสัมพันธภาพต่อบุคคลรอบตัว en_US
dc.description.abstractalternative This qualitative study aimed to examine the experiences of 11 novice Buddhist counselors who had fewer than 5 years of professional practice after graduating from the postgraduate training in counseling psychology at the Faculty of Psychology, Chulalongkorn University. A phenomenological research methodology was employed. Data were collected via in-depth and semi-structured interviews. Finding revealed 3 major themes as follows: (1) struggles and obstacles as a new practitioner in the profession: the participants experienced and overcame challenging situations in their lives, (2) defining self-concept through professional experience: the participants expressed personal satisfaction obtained through the profession of counseling, (3) personal development through professional experience: the participants expressed faith in their occupation and expressed their honor in being alive through the counseling profession. In summary, the majority of the participants were delighted and satisfied with their experiences as novice Buddhist counselors and obtained personal growths and fulfilling relationships with others. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject นักจิตวิทยาการปรึกษา en_US
dc.subject พุทธศาสนา -- แง่จิตวิทยา en_US
dc.subject Counseling psychologists en_US
dc.subject Buddhism -- Psychological aspects en_US
dc.title ประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธมือใหม่ en_US
dc.title.alternative Experience of novice Buddhist counselors en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline จิตวิทยาการปรึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor tnattasuda@gmail.com


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record