DSpace Repository

การเติบโตภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญของผู้รอดชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
dc.contributor.advisor สุภาพรรณ โคตรจรัส
dc.contributor.author กัญญานาถ สุวรรณชาตรี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.coverage.spatial ไทย (ภาคใต้)
dc.date.accessioned 2015-09-16T03:53:10Z
dc.date.available 2015-09-16T03:53:10Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45322
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en_US
dc.description.abstract ศึกษาการเติบโตภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญของผู้รอดชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบจำนวน 10 ราย (ชาย 8 ราย และหญิง 2 ราย) ที่อาศัยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเป็นผู้ที่ผ่านการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบรายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบทีมผู้วิจัยเห็นชอบร่วมกัน ผลการวิจัยพบประสบการณ์การเติบโตภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ 3 ประเด็นหลักคือ 1) การเติบโตที่ปรากฏภายหลังประสบเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ได้แก่ การยอมรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทุกข์ใจ การไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต การตระหนักถึงความรักความผูกพันในครอบครัว และการมองเห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ 2) การประสบเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ได้แก่ ลักษณะเหตุการณ์สะเทือนขวัญ และการสูญเสียด้านร่างกายและจิตใจ 3) การมีแหล่งเกื้อหนุนการเติบโต ได้แก่ การมีวิธีคิดเพื่อสร้างความเข้มแข็งทั้งกายและจิตใจ การมีครอบครัวและบุคคลรอบข้าง การนำหลักศาสนามาใช้ในการดำเนินชีวิต และการมีบทบาทที่ต้องรับผิดชอบ ข้อค้นพบจากงานวิจัยสนับสนุนแนวคิดที่ว่า ผู้รอดชีวิตจากการประสบเหตุการณ์สะเทือนขวัญสามารถพัฒนาความเข้มแข็งภายในจิตใจ และเติบโตอย่างมีวุฒิภาวะได้หากพวกเขามีแหล่งเกื้อหนุนที่เพียงพอ en_US
dc.description.abstractalternative This qualitative study aimed to examine posttraumatic growth of insurgency survivors in the southern border provinces of Thailand. A consensus qualitative research design was used. Key informants were 10 (8 males and 2 females) insurgency survivors who were purposively selected using a set of criteria. The key informants were interviewed individually by the researcher. Data were subsequently analyzed using a consensual qualitative research method. Findings revealed 4 themes of posttraumatic growth experience: (1) Posttraumatic growth such as accepting ongoing circumstances, appreciating lives and recognizing the importance of family bonding; (2) Facing traumatic situations similar to these or those situations with physical and psychological impact; (3) Having resources to support such as resilience-enhancement thinking, family and social support, living lives based on religious beliefs, and committing to duties and responsibilities. Findings support the notion that those surviving insurgency with sufficient resources and supports can develop psychological growth and strength. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2015
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ความผิดปกติทางจิตหลังภัยพิบัติ en_US
dc.subject การก่อความไม่สงบ -- ไทย (ภาคใต้) en_US
dc.subject Post-traumatic stress disorder en_US
dc.subject Insurgency -- Thailand, Southern en_US
dc.title การเติบโตภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญของผู้รอดชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ en_US
dc.title.alternative Posttraumatic growth of insurgency survivors in Southern border provinces en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline จิตวิทยาการปรึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor atuicomepee@gmail.com
dc.email.advisor ksupapun@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.2015


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record