Abstract:
สร้างสรรค์และค้นหาแนวทางในการออกแบบนาฏยศิลป์ ที่ได้แรงบันดาลใจจากจินตนาการของผู้พิการทางสายตา ผู้วิจัยจึงต้องตั้งประเด็นคำถามในการวิจัยถึง ผลงานการแสดงจากงานวิจัยเรื่อง การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากจินตนาการของผู้พิการทางสายตา ควรเป็นอย่างไร และควรมีแนวคิดในการสร้างสรรค์งานอย่างไร ทั้งนี้ผลที่ได้จากการวิจัยเชิงสร้างสรรค์คือ ผลงานนาฏยศิลป์จากจินตนาการของผู้พิการทางสายตา และแนวทางในการออกแบบงานนาฏยศิลป์ที่ได้แรงบันดาลใจจากจินตนาการของผู้พิการทางสายตา โดยให้ความสำคัญกับแนวคิดวิเคราะห์จากจินตนาการของผู้พิการทางสายตา ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทฤษฎีที่เกี่ยวกับผู้พิการทางสายตา ทฤษฎีที่เกี่ยวกับจินตนาการ องค์ประกอบทางศิลปะ นาฏยศิลป์สร้างสรรค์ ความคิด ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญกับนาฎยศิลป์สร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้อง กับแนวคิดจินตนาการของผู้พิการทางสายตาในงานนาฏยศิลป์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์นี้ประกอบด้วยเครื่องมือ 6 ชนิด ได้แก่ การสำรวจข้อมูลภาคสนาม การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ข้อมูลตามทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการทางสายตา การสัมมนา เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน ตลอดจนสื่อสารสนเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย โดยการเก็บข้อมูลในช่วงเดือน มกราคม 2554 ถึงเดือนเมษายน 2555 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนการสัมภาษณ์รวมถึง นิสิต นักศึกษา ผู้เชี่ยวชาญในด้านศิลปะการแสดง โดยเฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างงานนาฏยศิลป์แบบสร้างสรรค์ ข้อมูลทั้งหมดนี้ได้นำมาวิเคราะห์ เพื่อตอบคำถามในงานวิจัยสร้างสรรค์ครั้งนี้คือ ได้ผลงานการแสดงและแนวคิดในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากจินตนาการของผู้พิการทางสายตา โดยคำนึงถึงองค์ประกอบทางด้านนาฏยศิลป์ที่ประกอบไปด้วย บทบาทการแสดง การออกแบบลีลา การออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย การคัดเลือกเสียงและดนตรี การออกแบบพื้นที่เวที การออกแบบแสง การออกแบบอุปกรณ์สำหรับการแสดง นักแสดง ตรงตามวัตถุประสงค์ทุกประการ