dc.contributor.advisor |
พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง |
en_US |
dc.contributor.author |
ดุจหทัย วงษ์กะพันธ์ |
en_US |
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
en_US |
dc.date.accessioned |
2015-09-17T04:01:26Z |
|
dc.date.available |
2015-09-17T04:01:26Z |
|
dc.date.issued |
2557 |
en_US |
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45384 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
en_US |
dc.description.abstract |
ในปัจจุบันนอกจากจะใช้เสื้อผ้าในการปกป้องร่างกายแล้ว เสื้อผ้านั้นยังสามารถแสดงออกและสะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกภาพ รสนิยม และสถานภาพที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล ทั้งนี้รสนิยมทางการแต่งกายที่แตกต่างกันนั้นได้รับอิทธิพลมาจากปัจจัยต่างๆซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 2 ส่วน คือ ปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น สภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ รวมถึงลักษณะรูปร่างของคนในแต่ละพื้นถิ่น และปัจจัยที่มนุษย์สร้างหรือกำหนดขึ้น เช่น ประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อ จากการศึกษาในเบื้องต้นพบว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นในเรื่องของวัฒนธรรมการแต่งกาย สตรีญี่ปุ่นชื่นชอบและสนใจผลิตภัณฑ์ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับงานหัตถกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของกระบวนการในการผลิตและสร้างสรรค์ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเมืองแฟชั่นและให้ความสำคัญกับเรื่องของการแต่งกายมากเป็นอันดับต้นของโลก ดังนั้นจึงมีสินค้าแฟชั่นที่หลากหลายสำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่แตกต่างกันในประเทศญี่ปุ่น ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาปัจจัยด้านต่างๆที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมและรูปแบบการแต่งกายของสตรีญี่ปุ่นที่มีการดำรงชีวิตในสังคมเมือง ทั้งเรื่องลักษณะของรูปร่าง, สัดส่วน และสภาพอากาศ ซึ่งมีอิทธิพลต่อลักษณะการแต่งกาย อีกทั้งองค์ประกอบต่างๆที่สำคัญ เช่น ความยาว โครงร่างเงา และโทนสีและเมื่อกล่าวถึงผ้าทอมือของไทยและสินค้าแฟชั่นที่สร้างสรรค์จากผ้าทอมือนับเป็นสินค้าส่งออกที่เป็นที่รู้จักและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยมาช้านาน หากแต่เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการส่งออกแล้ว ผ้าทอมือและสินค้าแฟชั่นที่สร้างสรรค์จากผ้าทอมือนั้นมีปริมาณการส่งออกที่น้อยมาก ทั้งนี้เนื่องจากรูปแบบไม่สอดคล้องต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากนัก ในการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาเฉพาะเจาะจงที่กลุ่มสตรีญี่ปุ่น ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อแนวทางการแต่งกายและการเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นของสตรีญี่ปุ่น ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์หาแนวทางการออกแบบเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าไทยที่เหมาะสมสำหรับสตรีญี่ปุ่น วัตถุประลงค์หลักของงานวิจัยฉบับนี้ คือ เพื่อเป็นแนวทางเริ่มต้นสำหรับผู้ที่สนใจทำวิจัยในเรื่องการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปสู่ตลาดต่างประเทศ และเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าทอมือของไทยสู่ตลาดประเทศญี่ปุ่น |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Attires, in addition to a protection of human body, are non-verbal language of a kind which can reflect personalities, tastes and status. The different tastes for fashion are influenced by different factors, which can be classified into 2 types: natural and non-natural ones. The former includes the climate, terrain and body shapes. The latter includes the culture, tradition and believes. This preliminary study found that Japan is a country, which is unique in terms of the fashion and attire culture. Japanese women prefer products with creative designs as reflected in handicrafts. Internationally, Japan is recognized as a country, which gives priority to the fashion. Therefore, various fashion products are prevalent for different consumer groups in Japan and, thus, Japan is a promising market. In this research, cultural and non-cultural factors to japanese attires of urban women are discussed. These include body shapes, bodypart lines and weather. From the analysis, it is found that these factors have influence on the fashion design on personalities, lengths, silhouettes and color schemes. Thai woven fabrics as handicraft products are internationally well-known and exported for years. However, the market share has still been limited because of its designs. This research aims at investigating the factors that influence on Japanese women’s preferences for fashion products and at proposing designs, which are suitable for Japanese women. This research is expected to contribute to the fashion design courses offered by various institutes in Thailand and current students in this field and to the fashion and fashion-related, textile, garment entrepreneurs whose market is Japan and those who are interested in Japanese market. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.894 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
การออกแบบแฟชั่น |
|
dc.subject |
ผ้า -- ไทย |
|
dc.subject |
ธุรกิจแฟชั่น -- ญี่ปุ่น |
|
dc.subject |
พฤติกรรมผู้บริโภค -- ญี่ปุ่น |
|
dc.subject |
Fashion design |
|
dc.subject |
Textile fabrics -- Thailand |
|
dc.subject |
Fashion merchandising -- Japan |
|
dc.subject |
Consumer behavior -- Japan |
|
dc.title |
การออกแบบเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าไทยสำหรับการส่งออกประเทศญี่ปุ่น |
en_US |
dc.title.alternative |
DESIGNING THAI FABRIC FASHION FOR EXPORTING TO JAPAN |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
en_US |
dc.degree.discipline |
ศิลปกรรมศาสตร์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Pornsanong.V@Chula.ac.th,psnv59@gmail.com |
en_US |
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2014.894 |
|