DSpace Repository

การสร้างความเป็นพลเมืองผู้ตื่นรู้ตามระบอบประชาธิปไตยในโรงเรียนมัธยมศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ฉันทนา หวันแก้ว en_US
dc.contributor.author กรวรรณ เกียรติไกรวัลศิริ en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2015-09-17T04:03:36Z
dc.date.available 2015-09-17T04:03:36Z
dc.date.issued 2557 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45611
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยชิ้นนี้มีความประสงค์ที่จะศึกษาการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตย ในระดับชั้นมัธยมศึกษา ในสถาบันการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งมีกรณีศึกษาเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยงานวิจัยนี้ให้ความสำคัญกับ แบบเรียน บทบาทครูในกระบวนการเรียนการสอน และ วัฒนธรรมโรงเรียนการเรียนรู้ในโรงเรียนเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตย การศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า หนังสือแบบเรียนมีสาระครอบคลุมความรู้ขั้นต้นเกี่ยวกับหลักการสำคัญของประชาธิปไตย และ ประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่ แต่มีจุดเน้นไปที่บทบาทของชนชั้นนำมากกว่าบทบาทพลเมืองในการเปลี่ยนแปลงสังคม โดยข้อจำกัดมาจากหนังสืออ่านประกอบที่เกี่ยวกับเรื่องราวการมีส่วนร่วมของพลเมืองไม่ได้รับความสนใจหรือมีไม่เพียงพอ ต่อมาเมื่อศึกษาถึงการจัดกิจกรรมการเรียนที่เหมาะสมในชั้นเรียนพบว่า การจัดการเรียนการสอนมีความจำกัด ส่วนหนึ่งมาจากขาดแรงจูงใจของทุกฝ่าย และเป้าหมายของการศึกษาเน้นไปที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัย อย่างไรก็ดี กิจกรรมนอกชั้นเรียนเป็นพื้นที่เรียนรู้ที่สำคัญแต่การมีส่วนร่วมของนักเรียนโดยทั่วไปจำกัด และยังไม่ได้รับการส่งเสริมอย่างเป็นระบบเมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายความเป็นเลิศทางวิชาการ en_US
dc.description.abstractalternative This research aims to study the educational management for creating democratic citizenship under civic education in the high school level of an educational institute according to the core curriculum for basic education 2008, which is a case study of a secondary school under the Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. This research focuses on school curriculum, teacher’s role in the process of teaching and learning in schools, and the school’s culture in creating a citizen-based democracy. The study has shown that textbook materials initially cover the principle knowledge of democracy and the modern political history but focuses more on the role of the elite over the role of citizens in social change. Such restrictions come from additional reading involved with citizens being not as interesting or are actually insufficient. Further study on appropriate learning activities in the classroom found that teaching and learning was limited. Part of such problem was due to lack of motivation from all sides. The goal of the study focused on college entrance exams, however, activities outside the classroom are an important learning foundation. The involvement of students in general was quite limited and has not been systematically promoted, especially when compared to the goal of academic excellence. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1004
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ประชาธิปไตย
dc.subject สังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subject Democracy
dc.title การสร้างความเป็นพลเมืองผู้ตื่นรู้ตามระบอบประชาธิปไตยในโรงเรียนมัธยมศึกษา en_US
dc.title.alternative BUILDING ACTIVE CITIZENSHIP FOR DEMOCRACY IN A SECONDARY SCHOOL en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การเมืองและการจัดการปกครอง en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Chantana.b@Chula.ac.th,wchantana@gmail.com en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2014.1004


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record