Abstract:
วิทยานิพนธ์เรื่อง “นาฏยศิลป์สร้างสรรค์สำหรับการแข่งขันยิมนาสติกลีลาในระดับนานาชาติ” มีวัตถุประสงค์ เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดยมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 1) เอกสาร 2) การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 3) สื่อสารสนเทศอื่นๆ 4) การสำรวจข้อมูลภาคสนาม 5) เกณฑ์มาตรฐานการยกย่องศิลปิน โดยมีกรอบของแนวคิดที่ยึดถือตามกฏกติกาสหพันธ์กีฬายิมนาสติกนานาชาติ (F.I.G- Federation International Gymnastics) กำหนด ตลอดจนการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปผล ซึ่งข้อมูลทั้งหมดได้เก็บและรวบรวมในช่วงเดือน มกราคม พ.ศ.2556 - ธันวาคม พ.ศ.2557 ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ รูปแบบการแสดงกับแนวคิดข้อมูลทั้งหมดนี้ ได้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ เพื่อหาคำตอบในคำถามงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์คร้ังนี้ คือ ผลงานนาฏยศิลป์สร้างสรรค์สำหรับการแข่งขันยิมนาสติกลีลาในระดับนานาชาติ โดยอาศัยองค์ประกอบทั้ง 5 ประการ ได้แก่ การออกแบบลีลา จาก แนวคิดพื้นฐานการการเคลื่อนไหวร่างกายทั้ง 7 ประเภทในนาฏยศิลป์ คือ 1.การเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะการโค้ง การงอ การย่อ เป็นต้น 2.การเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะการเขย่ง การทำให้สูงขึ้น เป็นต้น 3.การเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะการเลื่อนจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง เป็นต้น 4.การเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะการเคลื่อนที่เป็นวงกลม การหมุน เป็นต้น 5.การเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะการกระโดด เป็นต้น 6.การเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะการยืดขยาย การแผ่ออก เป็นต้น 7.การเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะการพุ่ง การเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เป็นต้น โดยการออกแบบลีลาลักษณะการเคลื่อนไหวร่างกายดังกล่าวผ่านแนวคิดสิ่งเร้าทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการออกแบบลีลาท่าทางการแสดงกับอุปกรณ์ ได้แก่ สิ่งเร้าทางด้านความคิดเรื่องราวในการแสดงอุปกรณ์บอล สิ่งเร้าทางด้านเสียงในการแสดงอุปกรณ์คฑา สิ่งเร้าทางด้านภาพในการแสดงอุปกรณ์ริบบิ้น และ สิ่งเร้าที่เกิดจากการเคลื่อนไหวในการแสดงอุปกรณ์ห่วง สำหรับนักแสดงผู้วิจัยได้คัดเลือกนักกีฬาทีมชาติไทยมาช่วยในการทดลองครั้งนี้ ทางด้านการออกแบบเครื่องแต่งกาย การออกแบบดนตรี และการออกแบบอุปกรณ์ นั้นเป็นไปตามกฏกติการสหพันธ์กีฬายิมนาสติกนานาชาติกำหนด โดยมีแนวคิดการคำนึงถึงกฎกติกาในการแข่งขันยิมนาสติกลีลา การคำนึงถึงช่วงระยะเวลาในการแสดง การคำนึงถึงแนวคิดท่าทางการเชื่อมท่าเคลื่อนไหวร่างกายทางนาฏยศิลป์ การคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงนาฏยศิลป์ การคำนึงถึงความหลากหลายของรูปแบบการแสดงนาฏยศิลป์ เพื่อให้ได้ผลงานตรงตามวัตถุประสงค์ในการวิจัยทุกประการ