DSpace Repository

การศึกษาการสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกที่นำเด็กมารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ณ สถาบันราชานุกูล

Show simple item record

dc.contributor.advisor อลิสา วัชรสินธุ en_US
dc.contributor.author ศรสลัก นิ่มบุตร en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2015-09-17T04:04:55Z
dc.date.available 2015-09-17T04:04:55Z
dc.date.issued 2557 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45747
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยการศึกษาวิจัย ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติก และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยเก็บข้อมูลจากมารดาเด็กออทิสติกที่อายุระหว่าง 3 ถึง 7 ปี ที่นำเด็กมารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ณ สถาบันราชานุกูล จำนวน 92 ราย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของมารดาและบุตร 2) แบบสอบถามการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติก พัฒนาโดย ประพา หมายสุข 3) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม The Personal Resource Questionnaire : PRQ Part II ของ Brand and Weinert แปลโดยสุภาพ ชุณวิรัตน์ ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานในการทดสอบความสัมพันธ์ของการสนับสนุนทางสังคมกับการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัว และปัจจัยพยากรณ์ โดยใช้สถิติ Pearson correlation, Independent samples t-test, One way ANOVA และ Simple and Multiple Regression Analysis. ผลการศึกษา พบว่า ระดับการสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 66.09 และ 153.47 ตามลำดับ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติก คือ อายุของบุตร และอายุของมารดา โดยพบว่า มารดาที่มีบุตรอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 6 ปี ขึ้นไป มีการปรับตัวโดยรวมและด้านความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรมากกว่ามารดาที่มีบุตรอายุระหว่าง 4 ปี 1 เดือน ถึง 5 ปี 11 เดือน (p <0.05) มารดาที่มีบุตรอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 6 ปี ขึ้นไป มีการปรับตัวด้านการยอมรับต่อสภาพบุตรมากกว่ามารดาที่มีบุตรอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 4 ปี (p <0.05) และมารดาที่มีอายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี มีการปรับตัวด้านการรับผิดชอบต่ออนาคตบุตรมากกว่ามารดาที่อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 ปี (p <0.05) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติก (p <0.01) และการสนับสนุนทางสังคมเป็นปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การปรับตัวของมารดา ได้ร้อยละ 17 (p <0.05) จากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของอายุบุตรและมารดา รวมทั้งการสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติก ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติและงานวิจัยต่อไป en_US
dc.description.abstractalternative This study was a cross-sectional descriptive study. The purposes were to study social support and adaptation of autistic children's mothers and the factors associated with adaptation of autistic children's mothers. The study was done in 92 mothers of autistic children age between 3 years to 7 years at Rajanukul Institute. The instruments were 1) Personal Data Questionnaire 2) Adaptation of autistic children's mothers Questionnaire’s Prapa Maisook. 3) Social support of autistic children's mothers Questionnaire’s the Personal Resource Questionnaire: PRQ Part II for Brand and Weinert by Supap Chunvirut. Data were analyzed by descriptive statistics: percentage, frequency, mean and standard deviation. Inferential statistics were used to analyze the relationship between social support and adaptation of autistic children's mothers. Statistics to find predictive factors were Pearson correlation, independent samples t-test, one way ANOVA, and simple and multiple regression analysis. The results showed that both adaptation and social support of autistic children's mothers were in the moderate level. ( Mean = 66.09, 153.47) Factors that were significantly associated with adaptation of autistic children's mothers were age of autistic children and mother. (p <0.05) Mothers with children age 6 or over had total adaptation and ability to look after children significantly better than children age between 4 years 1 month to 5 years 11 month. (p <0.05) Mothers with children age 6 or over had accepting of children status significantly better than children age 4 or lower. (p <0.05) And mother’s age between 31 years to 41 years had responsibility to children future significantly better than mother’s age 30 or lower. (p <0.05) The social support was significantly related to adaptation of autistic children's mothers (p <0.01) Social support was the only factor significantly predicted mother’s adaptation. This study showed importance of age’s autistic children, age’s mothers and social support associated with adaptation of autistic children's mothers, The data apply benefit for practice and research to next time. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.574
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การปรับตัว (จิตวิทยา)
dc.subject มารดาของเด็กออทิสติก
dc.subject Adjustment (Psychology)
dc.subject Mothers of autistic children
dc.title การศึกษาการสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกที่นำเด็กมารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ณ สถาบันราชานุกูล en_US
dc.title.alternative A STUDY OF SOCIAL SUPPORT AND ADAPTATION OF AUTISTIC CHILDREN'S MOTHERS OUTPATIENT DEPARTMENT, RAJANUKUL INSTITUTE en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สุขภาพจิต en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Alisa.W@Chula.ac.th,alisa_wacharasindhu@hotmail.com en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2014.574


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record