Abstract:
ปัจจุบันพบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งและหลอดเลือดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การทำสัญญาประกันภัยโรคร้ายแรงจึงเป็นทางเลือกที่จะช่วยให้พร้อมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดโรคดังกล่าว แต่พบว่าปัญหาที่เกิดกับบริษัทประกันภัยคือผู้เอาประกันภัยบางรายไม่ได้แจ้งข้อมูลวันที่วินิจฉัยโรค งานวิจัยนี้จึงเสนอการหาตัวแบบระยะเวลาที่ล่าช้าระหว่างเวลาที่วินิจฉัยโรคและเวลาที่ชำระสินไหมทดแทนสำหรับการประกันภัยโรคร้ายแรง โดยใช้ข้อมูลผู้เอาประกันภัย 840 คน ที่ทำประกันภัยโรคร้ายแรงจากบริษัทประกันชีวิต 2 แห่งในประเทศไทย โดยข้อมูลมี 6 ตัวแปร ได้แก่ อายุ เพศ รูปแบบผลประโยชน์ จำนวนเงินเอาประกันภัย บริษัทประกันภัย และสาเหตุการเรียกร้องสินไหมทดแทน โดยรูปแบบผลประโยชน์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือประเภทครอบคลุมการเสียชีวิต และไม่ครอบคลุมการเสียชีวิต สาเหตุการเรียกร้องสินไหมทดแทนแบ่งเป็น 8 กลุ่มโรคร้ายแรง ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคเกี่ยวกับตับ โรคเลือด โรคระบบประสาท โรคปอดอักเสบ โรคความดันเลือดสูง โรคหัวใจ และโรคอื่นๆ ข้อมูลนี้ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติ 2 แบบ คือตัวแบบการเสี่ยงภัยแบบอัตราส่วนค็อก จากตัวแบบนี้พบว่าอายุและบริษัทประกันภัยมีผลต่อระยะเวลาที่ล่าช้า และการวิเคราะห์แบบเบส์เซียนด้วยตัวแบบเบอร์และตัวแบบล็อกนอร์มอล พบว่าตัวแบบเบอร์มีความเหมาะสมกับข้อมูลมากกว่าตัวแบบล็อกนอร์มอล ซึ่งตัวแปรที่มีผลต่อระยะเวลาที่ล่าช้าในตัวแบบเบอร์ คือ อายุ บริษัทประกันภัย และรูปแบบผลประโยชน์