DSpace Repository

การตรวจสอบและถ่วงดุลการแสวงหาพยานหลักฐาน : ศึกษากรณีการปฏิบัติการอำพรางของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปารีณา ศรีวนิชย์ en_US
dc.contributor.author ภาณุรุจ สุวรรณรัตน์ en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2015-09-19T03:39:56Z
dc.date.available 2015-09-19T03:39:56Z
dc.date.issued 2557 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46500
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 7 ที่กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติการอำพรางซึ่งเป็นเทคนิคการสืบสวนพิเศษที่มีข้อโต้แย้งมากอย่างหนึ่ง โดยกำหนดให้มีการใช้ระบบขออนุญาตก่อนการปฏิบัติการอำพรางต่อผู้บังคับบัญชาของเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งเป็นการตรวจสอบควบคุมภายในองค์กรเท่านั้นเป็นหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบควบคุมการปฏิบัติการอำพราง โดยจะศึกษาเฉพาะกรณีการปฏิบัติการอำพรางของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จากการศึกษาพบว่าหลักเกณฑ์การตรวจสอบควบคุมการปฏิบัติการอำพรางตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 7 ประกอบกฎกระทรวงว่าด้วยการปฏิบัติการอำพรางเพื่อการสืบสวนความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2555 มีหลักเกณฑ์การตรวจสอบควบคุมที่ขาดความชัดเจนหลายประการ โดยในแง่การตรวจสอบควบคุมเชิงเนื้อหาซึ่งเป็นเรื่องขอบเขตของการปฏิบัติการอำพราง กฎหมายดังกล่าวมิได้กำหนดนิยาม ประเภท วิธีการ ระยะเวลา และความคุ้มครองเจ้าหน้าที่อำพรางในความรับผิดที่อาจเกิดขึ้นให้ชัดเจน ตลอดจนมิได้มีหลักเกณฑ์ที่คำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชนมากนักโดยเฉพาะการที่พระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้รายละเอียดของหลักเกณฑ์ส่วนใหญ่เป็นไปตามกฎกระทรวงดังกล่าวกำหนด พระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิประชาชนจากความเสี่ยงของการปฏิบัติการอำพรางเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขณะที่อเมริกามีรายละเอียดที่ชัดเจน ส่วนเยอรมนีมีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่สำคัญไว้ในประมวลกฎหมาย ส่วนในแง่การตรวจสอบควบคุมเชิงกระบวนการที่ใช้ระบบขออนุญาตการปฏิบัติการอำพรางก่อนการดำเนินการใกล้เคียงกับอเมริกา เยอรมนี อิตาลี แต่ก็เป็นเพียงการตรวจสอบควบคุมภายในเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากประเทศต่างๆดังกล่าวที่มีกลไกการตรวจสอบควบคุมจากภายนอกด้วย จึงเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การตรวจสอบควบคุมการปฏิบัติการอำพรางตามพระราชบัญญัติและกฎกระทรวงดังกล่าวทั้งในเชิงเนื้อหาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และในเชิงกระบวนการโดยเพิ่มการตรวจสอบควบคุมจากองค์กรภายนอกโดยอัยการให้มากขึ้นในลักษณะของการตรวจสอบถ่วงดุล en_US
dc.description.abstractalternative This thesis will focus on a study of Narcotics Procedure Act B.E. 2550, Article 7, which regulates undercover operations, one of the special investigative techniques that have many legal concerns, by control the undercover operations with the requirement of advance authorization from superior officers before execute any undercover operations, in a case of police undercover operations. The result from the study reveal that the regulations of undercover operation according to Article 7 of Narcotics Procedure Act B.E. 2550, with its ministerial regulations, are uncertain in many issues. In the view of substantive control, which focus on the extent of undercover operations, the regulations’ not clarify a definition, type, means, duration and illegal activities, that the undercover agents may be authorized to involve, of the undercover operations besides the lacking of the minimum standard of civil rights and civil liberties protection by authorizing its ministerial regulations to detail almost all principals of the regulations. While “FBI Guideline”of the United States regulate undercover operation more clearly, Germany regulates them by legislation the main principal in the Code of Criminal Procedure. In the view of procedural control, the advance authorization system that roughly seem like the regulations of another, United States Germany and Italy, is only the internal control unlike the others which have the mechanism of external control, more or less. As a result, this thesis recommends Thailand to adjust Narcotics Procedure Act B.E. 2550, with its ministerial regulations according to Article 7, in both substantive control, by ruling more clearly, and procedural control, by addition of external control, with prosecutors, in the manner of checks and balances. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1277
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550
dc.subject พยานหลักฐานคดีอาญา -- ไทย
dc.subject การสืบสวนคดีอาญา -- ไทย
dc.subject วิธีพิจารณาความอาญา
dc.subject Evidence, Criminal -- Thailand
dc.subject Criminal investigation -- Thailand
dc.subject Criminal procedure
dc.subject Undercover operations
dc.title การตรวจสอบและถ่วงดุลการแสวงหาพยานหลักฐาน : ศึกษากรณีการปฏิบัติการอำพรางของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 en_US
dc.title.alternative CHECK AND BALANCE OF EVIDENCE GATHERING : A CASE STUDY OF POLICE UNDERCOVER OPERATION UNDER NARCOTICS PROCEDURE ACT B.E. 2550 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Pareena.S@Chula.ac.th,pareena.lawchula@gmail.com en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2014.1277


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record