Abstract:
หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลต่อความเปราะบางของระบบเศรษฐกิจภายในประเทศและอาจนำไปสู่ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในบางประเทศ ซึ่งหนี้ครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงราคาบ้านในฐานะที่เป็นทั้งสินทรัพย์และข้อจากัดการกู้ยืมของครัวเรือน ดังนั้นในการศึกษานี้จึงใช้แบบจำลอง Dynamic Stochastic General Equilibrium (DSGE) ของ Iacoviello (2005) ที่แบ่งครัวเรือนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้กู้ และกลุ่มผู้ให้กู้ โดยศึกษาการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนมาจากปริมาณเงินกู้ที่สามารถกู้ได้มากขึ้น ผ่านเงินกู้จาก (1) หลักทรัพย์ค้ำประกัน (Loan-to-value) (2) ส่วนแบ่งรายได้ของครัวเรือนที่เป็นผู้กู้ต่อครัวเรือนทั้งหมด และ (3) สัดส่วนการถือครองบ้านของครัวเรือนเปรียบเทียบกับผู้ประกอบการ พบว่า หลักทรัพย์ค้ำประกันและส่วนแบ่งรายได้ของครัวเรือนที่เป็นผู้กู้ต่อครัวเรือนทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นและสัดส่วนการถือครองบ้านของครัวเรือนเปรียบเทียบกับผู้ประกอบการที่ลดลงส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจมีความผันผวนมากขึ้น โดยการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนจากส่วนแบ่งรายได้ของครัวเรือนที่เป็นผู้กู้เพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อความผันผวนมากกว่ากรณีอื่น และระดับหนี้ครัวเรือนที่เริ่มส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจที่อาจนำไปสู่ภาวะถดถอยของระบบเศรษฐกิจอยู่ที่ระดับหนี้ครัวเรือนที่มีเงินกู้จากหลักทรัพย์ค้าประกันของครัวเรือนที่เป็นผู้กู้ในช่วงร้อยละ 90 ถึง 95 และมีส่วนแบ่งรายได้ของครัวเรือนที่เป็นผู้กู้ร้อยละ 65 ถึง 70 ของครัวเรือนทั้งหมด