DSpace Repository

การศึกษาเชิงเปรียบเทียบการสร้างสรรค์โฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับสินค้าที่มีระดับความเกี่ยวพันสูงและสินค้าที่มีระดับความเกี่ยวพันต่ำ

Show simple item record

dc.contributor.advisor อารยะ ศรีกัลยาณบุตร
dc.contributor.author กมล พลอยแดง
dc.date.accessioned 2016-05-25T08:30:33Z
dc.date.available 2016-05-25T08:30:33Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47592
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en_US
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาเชิงเปรียบเทียบการสร้างสรรค์โฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับสินค้าที่มีระดับความเกี่ยวพันสูงและสินค้าที่มีระดับความเกี่ยวพันต่ำนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางและเปรียบเทียบการใช้จุดขาย (Positionings) จุดเว้าวอน (Appeals) และการใช้ภาพโฆษณา (Advertising Visualizations) ในโฆษณาประเภทสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับสินค้าที่มีระดับความเกี่ยวพันสูง (High Involvement Level Products) และสินค้าที่มีระดับความเกี่ยวพันต่ำ (Low Involvement Level Products) วิธีที่ใช้ในการวิจัย คือ ศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในเรื่องทฤษฎีความเกี่ยวพัน และข้อมูลในเรื่องระดับความเกี่ยวพันสูงและระดับเกี่ยวพันต่ำ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดแยกกลุ่มตัวอย่างผลงานโฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์ออกเป็น 2 ประเภทตามทฤษฎี คือ ผลงานโฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์สินค้าที่มีระดับความเกี่ยวพันสูง จำนวน 100 ชิ้น และผลงานโฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์สินค้าที่มีระดับความเกี่ยวพันต่ำ จำนวน 100 ชิ้น ซึ่งได้รวบรวมจากเว็บไซค์ผลงานโฆษณาสินค้าประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ระดับสากลของสถาบัน Luzer’s Int’l Archive จำนวน 200 ชิ้น จาก 21 หมวดหมู่สินค้า ในระยะเวลา 7 ปี (2000 – 2006) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้จุดขาย จุดเว้าวอน และการใช้ภาพโฆษณา ซึ่งได้วิเคราะห์จากวรรณกรรมแต่ละเล่มที่เกี่ยวข้องในแต่ละเรื่องและสรุปออกมาได้รูปแบบของการใช้จุดขาย 7 ประเภท จุดเว้าวอน 5 ประเภทและการใช้ภาพโฆษณา 14 ประเภท จากนั้นจึงนำผลงานโฆษณากลุ่มตัวอย่างมาพิจารณาหาจุดขาย จุดเว้าวอน และการใช้ภาพโฆษณา โดยการสร้างเครื่องมือแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญที่ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 ท่านเป็นผู้วิเคราะห์และพิจารณา แล้วนำมาสรุปโดยการหาค่าความถี่ของความนิยมแล้วนำผลที่ได้มาเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ผลการวิจัยพบว่า 1. การใช้จุดขายในการสร้างสรรค์โฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับสินค้าที่มีระดับความเกี่ยวพันสูงและสินค้าที่มีระดับความเกี่ยวพันต่ำนั้นจะนิยมใช้จุดขายด้านคุณสมบัติของสินค้า (Product Attributes Positioning) เหมือนกัน 2. การใช้จุดเว้าวอนในการสร้างสรรค์โฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับสินค้าที่มีระดับคามเกี่ยวพันสูงและสินค้าที่มีระดับความเกี่ยวพันต่ำนั้นจะนิยมใช้จุดเว้าวอนในด้านต่างกัน โดยในสินค้าที่มีระดับความเกี่ยวพันสูงจะนิยมใช้จุดเว้าวอนด้านเหตุผล (Rational Appeal) ส่วนสินค้าที่มีระดับความเกี่ยวพันต่ำจะนิยมใช้จุดเว้นวอนด้านอารมณ์ขัน (Emotional – Humor Appeal) 3. การใช้ภาพโฆษณาในการสร้างสรรค์โฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับสินค้าที่มีระดับความเกี่ยวพันสูงและสินค้าที่มีระดับความเกี่ยวพันต่ำนั้นจะนิยมใช้วิธีการใช้ภาพโฆษณาที่แตกต่างกัน โดยในสินค้าที่มีระดับความเกี่ยวพันสูงจะนิยมใช้วิธีการใช้ภาพโฆษณาที่มีการเล่าเรื่องราว (Telling Story) ส่วนสินค้าที่มีระดับความเกี่ยวพันต่ำนั้นจะนิยมใช้วิธีการใช้ภาพโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง (Exaggeration) en_US
dc.description.abstractalternative The objective of this research, the comparative study of printing advertising for products with high involvement and low involvement levels product, is to study, find and compare how to use the Positionings, Appeals and Advertising Visualizations in printing advertising for High Involvement Level Products and low Involvement Level Products. Reseach Method : Study and collect the theory of involvement, high involvement level and low involvement level for use standard to separate 2 case studies of printing advertising (100 case studies of printing advertising for product with high involvement level and 100 case studies of printing advertising for product with low involvement level) with theory, from Luzer’s Int’l Archive website amount 200 case studies from 21 categories from 21 categories during 7 years (2000-2006). Study and collect informations about Positionings, Appeals and Advertising Visualizations and sum up 7 Positionings, 5 Appeals and 14 Advertising Visualizations. After that consider the case studies for find Positionings, Appeals and Advertising Visualizations with questionnaire for 7 Experts consider then find and summarize a frequency of using and rearrange from high to low. The Research Outcome: 1. The Positioning in creation of printing advertising for printing advertising for products with involvement and low involvement levels product use the same Product Attributes Positioning. 2. The Appeal Positioning in creation of printing advertising for products with high involvement and low involvement levels product use different Appeal. High Involvement Level Products use Rational Appeal and Low Involvement Level Products use Emotional – Humor Appeal. 3. The Advertising Visualization in creation of printing advertising for products with high involvement and low involvement levels product use different Advertising Visualization. High Involvement Level Products use Telling story and Low Involvement Level Products use Exaggeration. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.2067
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การวางตำแหน่งสินค้า (โฆษณา) en_US
dc.subject โฆษณา en_US
dc.subject Positioning (Advertising)
dc.subject Advertising
dc.title การศึกษาเชิงเปรียบเทียบการสร้างสรรค์โฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับสินค้าที่มีระดับความเกี่ยวพันสูงและสินค้าที่มีระดับความเกี่ยวพันต่ำ en_US
dc.title.alternative Compartive study of printing advertising for products with high involvement and low involvement levels product en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นฤมิตศิลป์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Araya.S@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.2067


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record