DSpace Repository

ผลของความใกล้ชิดระหว่างบุคคลและผลงานต่อการยืนยันคุณค่าในความสัมพันธ์แบบคู่รัก

Show simple item record

dc.contributor.advisor จรุงกุล บูรพวงศ์
dc.contributor.author กมลรัตน์ ทั่งจันทร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2016-05-25T09:38:43Z
dc.date.available 2016-05-25T09:38:43Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47599
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของระดับความใกล้ชิดระหว่างคู่รัก และการรับรู้คุณภาพของผลงาน ที่มีต่อการประเมินคุณภาพลักษณะของตนเองด้านความสัมพันธ์ คุณลักษณะของคู่รักด้านความสัมพันธ์ และเหตุการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างคู่รัก ผู้ร่วมการวิจัยจำนวน 180 คน ได้ทำแบบระดับความใกล้ชิด แบบประเมินคุณภาพของตนเองด้านความสัมพันธ์ แบบประเมินคุณลักษณะของคู่รักด้านความสัมพันธ์ และแบบประเมินเหตุการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างคู่รัก ผู้ร่วมการวิจัยแบ่งออกเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดมากหรือน้อย ในสถานการณ์ด้านการเรียนหรือการทำงาน และมีผลงานของคู่รักเหนือกว่าตนเอง ผลงานของคู่รักด้อยกว่าตนเอง หรือกลุ่มควบคุม ทั้งหมด 12 เงื่อนไข หลังจากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์การเปรียบต่าง และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง ผลการวิจัยพบว่า 1. ในด้านการเรียนผู้ที่มีความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดกันมาก และรับรู้คุณภาพผลงานของคู่รักเหนือกว่าตนเอง มีคะแนนการประเมินคุณลักษณะของคู่รักมากกว่าผู้ที่รับรู้ว่าคุณภาพผลงานของคู่รักด้อยกว่าตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) แต่มีคะแนนการประเมินคุณลักษณะของตนเองและประเมินเหตุการณ์ความสัมพันธ์ไม่แตกต่างกัน ส่วนในด้านการทำงานมีคะแนนประเมินคุณลักษณะของตนเองและคู่รัก และประเมินเหตุการณ์ความสัมพันธ์ไม่แตกต่างกัน 2. ในด้านการเรียนรู้ที่มีความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดกันมาก และรับรู้ว่าคุณภาพผลงานของคู่รักเหนือกว่าตนเอง มีคะแนนการประเมินคุณภาพคุณลักษณะของตนเองและคู่รัก และประเมินเหตุการณ์ความสัมพันธ์มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางถิติ (p < .05, p < .05 ตามลำดับ) ส่วนในด้านการทำงานมีคะแนนการประเมินคุณลักษณะของตนเองและคู่รัก และการประเมินเหตุการณ์ความสัมพันธ์ไม่แตกต่างกัน 3. ในด้านการเรียนรู้ผู้ที่มีความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดกัน และรับรู้ว่าคุณภาพผลงานของคู่รักด้อยกว่าตนเอง มีคะแนนการประเมินคุณลักษณะของตนเองและคู่รัก และประเมินเหตุการณ์ความสัมพันธ์ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม ส่วนในด้านการทำงานมีคะแนนการประเมินคุณลักษณะของตนเองและคู่รักมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05 และ p < .01 ตามลำดับ) แต่มีคะแนนการประเมินเหตุการณ์ความสัมพันธ์ไม่แตกต่างกัน 4. ในด้านการเรียนรู้ผู้ที่รับรู้ว่าคุณภาพผลงานของคู่รักเหนือกว่าตนเอง และมีความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดกันมาก มีคะแนนการประเมินคุณลักษณะของตนเองและคู่รัก และประเมินเหตุการณ์ความสัมพันธ์มากกว่าผู้ที่มีความสัมพันธฺแบบใกล้ชิดกันน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001, p < .001 และ p < .01 ตามลำดับ) ส่วนในด้านการทำงานมีคะแนนการประเมินคุณลักษณะของคู่รัก และการประเมินเหตุการณ์ความสัมพันธ์มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05 และ p < .001 ตามลำดับ) แต่มีคะแนนการประเมินคุณลักษณะของตนเองไม่แตกต่างกัน 5. ในด้านการเรียนและด้านการทำงาน ผู้ที่มีความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดกันน้อย และรับรู้ว่าคุณภาพผลงานของคู่รักเหนือกว่าตนเอง มีคะแนนการประเมินคุณลักษณะของตนเองและคู่รัก และประเมินเหตุการณ์ความสัมพันธ์ไม่แตกต่างจากผู้ที่รับรู้ว่าคุณภาพผลงานของคู่รักด้อยกว่าและกลุ่มควบคุม 6. ในด้านการเรียนและในด้านการทำงานผู้ที่มีความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดกันมาก มีคะแนนการประเมินคุณลักษณะของตนเองและคู่รัก และประเมินเหตุการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักมากกว่าผู้ที่มีความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดกันน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ en_US
dc.description.abstractalternative The study examined the effect of interpersonal closeness and performance on affirmation within romantic relationship. One hundred and eighty participants completed measures of closeness, relationship-related self-appraisals, relationship-related partner-appraisals, and relationship events. They were classified as high or low in closeness, in study or work situafions, with upward comparison, downward comparison or control group. They were divided into twelve conditions. Participants’ scores were analyzed using contrast and two-way ANOVA. Results show that: 1. In study situation, high closeness partners with upward comparison rate relationship-related partner-appraisals significantly more positive than those with downward comparison (p < .01). There are no significant differences in the ratings of relationship-related self-appraisals and relationship events. In work situation, there are no significant differences in the ratings of relationship-related self-appraisals, partner-appraisals and relationship-related self-appraisals, partner-appraisals and relationship events. 2. In study situation, high closeness partners with upward comparison rate relationship-related self-appraisals, partner-appraisals and relationship events significantly more positive than control group (p < .05, p < .001, and p < .05 respectively). In work situation, there are no significant differences in the rating of relationship-related self-appraisals, partner-appraisals and relationship events. 3. In study situation, there are no significant differences in the ratings of relationship-related self-appraisals, partner-appraisals and relationship events between high closeness partners with downward comparison and control group. In work situation, high closeness partners with downward comparison rate relationship-related self-appraisals and partner-appraisals significantly more positive than control group (p < .05, and p < .01 respectively). 4. In study situation with upward comparison, high closeness partners rate relationship-related self-appraisals, partner-appraisals and relationship events significantly more positive than low closeness (p < .001, p < .001, and p < .01 respectively). In work situation with upward comparison, high closeness partners rate relationship-related partner-appraisals and relationship events significantly more positive than low closeness (p < .05, and p < .001 respectively). 5. In both study and work situations, the ratings of low closeness partners with upward comparison on relationship-related self-appraisals, partner-appraisals and relationship events do not differ significantly from downward comparison and control group. 6. In both study and work situations, high closeness partners rate relationship-related self-appraisals, partner-appraisals and relationship events significantly more positive than low closeness partners. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.875
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject คู่รัก en_US
dc.subject ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล en_US
dc.subject ความสัมพันธ์ระหว่างบุรุษและสตรี en_US
dc.subject จิตวิทยาสังคม en_US
dc.subject Couples en_US
dc.subject Interpersonal relations en_US
dc.subject Man-woman relationships en_US
dc.subject Social psychology en_US
dc.title ผลของความใกล้ชิดระหว่างบุคคลและผลงานต่อการยืนยันคุณค่าในความสัมพันธ์แบบคู่รัก en_US
dc.title.alternative Effects of interpersonal closeness and performance on affirmation within romantic relationship en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline จิตวิทยาสังคม en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Jarungkul.B@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.875


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record