DSpace Repository

กลวิธีและปัญหาในการแปลชื่อเรื่องของงานวรรณกรรมเยอรมันเป็นไทย : รายงานผลการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author ถนอมนวล โอเจริญ
dc.date.accessioned 2016-08-24T08:50:43Z
dc.date.available 2016-08-24T08:50:43Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49219
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบและกลวิธีการแปลชื่อเรื่องของงานวรรณกรรมเยอรมันที่แปลเป็นไทยจำนวน 215 ชื่อเรื่อง ที่ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ.2522-2555 ผลการวิจัยในขั้นแรกแสดงให้เห็นว่า ผู้แปลชาวไทยนิยมใช้กลวิธีการแปลทั้งหมด 6 รูปแบบ ซึ่งเรียงลำดับตามข้อมูลที่พบ ได้แก่ การแปลตรงคำหรือตามตัวอักษร การแปลโดยการตั้งชื่อใหม่ การแปลโดยยึดคำเดิมบางส่วนและเพิ่มเติมบางส่วนตามเนื้อเรื่องหรือตัวละคร การแปลทับศัพท์หรือถ่ายเสียง การแปลโดยตัดทอนชื่อเดิมบางส่วนและการแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วถ่ายเสียงเป็นภาษาไทย ในการวิเคราะห์ชื่อเรื่องแปลขั้นต่อไป ผู้วิจัยใช้แนวทางการแปลแบบซื่อตรงต่อหน้าที่ในการสื่อสารของคริสติอาเน นอร์ด กับทฤษฎีสโคพอส ของแฟร์เมียร์ พบว่า กลวิธีการแปลที่ถ่ายทอดและรักษาหน้าที่ในการสื่อสารของตัวบทได้ครบถ้วนและซื่อตรงต่อตัวบทต้นทางและผู้ประพันธ์ อีกทั้งแสดงให้เห็นความคิดสร้างสรรค์และเทคนิคการใช้วรรณศิลป์ของผู้แปลชาวไทยได้แก่ การแปลโดยการตั้งชื่อใหม่ การแปลโดยยึดคำเดิมบางส่วนและเพิ่มเติมบางส่วนตาม เนื้อเรื่องหรือตัวละคร และการแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วถ่ายเสียงเป็นภาษาไทย ส่วนกลวิธีการแปลตรงคำหรือตามตัวอักษร การแปลทับศัพท์หรือถ่ายเสียง และการแปลโดยตัดทอนชื่อเดิมบางส่วนไม่สามารถถ่ายทอดหน้าที่ในการสื่อสารชื่อเรื่องภาษาเยอรมันมาไว้ในชื่อเรื่องแปลเป็นไทยได้ทั้งหมด จากผลของการวิจัยทำให้ได้ข้อสรุปว่า หากผู้แปลชาวไทยใช้ทฤษฎีสโคพอสและ แนวทางการแปลของนอร์ดในการวิเคราะห์และจำแนกหน้าที่ในการสื่อสารของตัวบทต้นทางก่อนการแปล จะทำให้การแปลมีคุณภาพและได้ผลลัพธ์ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ประพันธ์และ ตรงกับความต้องการของผู้อ่าน en_US
dc.description.abstractalternative This research aims to analyze forms and strategies in translating titles of 215 German literary works into Thai. The selected translations were published between 1979 and 2012. Preliminary findings revealed that Thai translators opted for 6 strategies in translating literary titles, which are, in order of occurrence: 1) literal translation, 2) renaming, 3) keeping part of the original title and adding words related to the plot or characters, 4) transliterating, 5) deleting part of the title, and 6) translating the German title into English and transliterating it into Thai. With Christiane Nord’s functional approach and Vermeer’s Skopos Theory as analytical frameworks, it was found that the strategies that are most effective in maintaining the communicative function of the ST, as they are faithful to the original and the author’s intention, and show creativity and artistic flair of the Thai translators are: renaming, keeping part of the original title and adding words relevant to the plot or characters, and translating the German title into English and transliterating it into Thai. On the other hand, literal translation, transliterating, and deletion of part of the title, were found to have failed to fulfill the communicative function of the original German titles. It can be concluded that had the translator applied the Skopos Theory and Nord’s functional approach in text analysis and identification of the communicative function of the source text before translating, the translated versions would have been of better quality, achieving the effect intended by the author and meeting the needs of the target readers. en_US
dc.description.sponsorship กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1392
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ภาษาเยอรมัน -- การแปลเป็นภาษาไทย en_US
dc.subject วรรณกรรมเยอรมัน -- การแปลเป็นภาษาไทย en_US
dc.title กลวิธีและปัญหาในการแปลชื่อเรื่องของงานวรรณกรรมเยอรมันเป็นไทย : รายงานผลการวิจัย en_US
dc.title.alternative Strategies and problems of title translation of German literary works into Thai en_US
dc.type Technical Report en_US
dc.email.author othanomn @chula.ac.th
dc.discipline.code 1096 en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2014.1392


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record