Abstract:
วิทยานิพนธ์เรื่อง เอกลักษณ์ไทยในงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย “นารายณ์อวตาร” พ.ศ.2546 ของ นราพงษ์ จรัสศรี นี้ ผู้วิจัยต้องการศึกษารูปแบบและแนวคิดในการสร้างสรรค์เอกลักษณ์ไทยในงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย “นารายณ์อวตาร” พ.ศ. 2546 ของ นราพงษ์ จรัสศรีที่จัดแสดงขึ้นระหว่างวันที่ 2- 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างงานนาฏยศิลป์ไทยแบบสร้างสรรค์ให้เป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์มรดกทางนาฏยศิลป์และวรรณกรรมของชาติสำหรับคนรุ่นใหม่ ดังนั้นผู้วิจัยจึงตั้งประเด็นคำถามถึง รูปแบบและแนวคิดในการสร้างสรรค์เอกลักษณ์ไทยในงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย “นารายณ์อวตาร” พ.ศ. 2546 ของ นราพงษ์ จรัสศรี จะเป็นอย่างไร เครื่องมือ 6 ชนิดที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างงานนาฏยศิลป์แบบสร้างสรรค์ การมีส่วนร่วมในงานสัมมนา สื่อสารสนเทศอื่นๆ การสำรวจข้อมูลภาคสนาม และเกณฑ์มาตรฐานศิลปินต้นแบบ การเก็บข้อมูลได้ดำเนินการอยู่ในช่วงของเดือน มกราคม 2546 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2555 ข้อมูลทั้งหมดได้ถูกนำมาวิเคราะห์ และได้คำตอบของงานวิจัยในครั้งนี้ คือ รูปแบบของการแสดงนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย “นารายณ์อวตาร” ประกอบไปด้วย 1) บทการแสดง 2) การออกแบบลีลา 3) การออกแบบเครื่องแต่งกาย 4) การออกแบบดนตรี 5) การออกแบบพื้นที่เวที 6) การออกแบบแสง 7) การออกแบบอุปกรณ์การแสดง 8) นักแสดง และแนวคิดในการสร้างเอกลักษณ์ไทยในงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย “นารายณ์อวตาร” พ.ศ. 2546 ประกอบด้วย 1) สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ไทย 2) การใช้สัญลักษณ์เพื่อสร้างเอกลักษณ์ไทย 3) การใช้ทฤษฎีทางด้านนาฏยศิลป์และทัศนศิลป์เพื่อสร้างเอกลักษณ์ไทย 4) การใช้ความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมเพื่อเสริมเอกลักษณ์ไทยให้เด่นขึ้น 5) สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมไทย 6) คำนึงถึงการสร้างสรรค์เพื่อสร้างเอกลักษณ์ไทย 7) การอนุรักษ์ความเป็นไทย 8) คุณธรรมที่ยอมรับกันในสังคมไทย 9) การสร้างอรรถรสในการแสดงเพื่อสร้างเอกลักษณ์ไทย 10) คำนึงถึงการสื่อสารเพื่อสร้างเอกลักษณ์ไทย 11) สร้างจิตสำนึกในด้านเอกลักษณ์ไทยให้กับคนรุ่นใหม่ ตรงตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยทุกประการ