DSpace Repository

การทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปัทพร สุคนธมาน en_US
dc.contributor.author รัชพล อ่ำสุข en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2016-11-30T05:38:33Z
dc.date.available 2016-11-30T05:38:33Z
dc.date.issued 2558 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49883
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 en_US
dc.description.abstract การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรของประเทศไทยที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจากการเป็นช่วงวัยสูงอายุนี้ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถประกอบกิจกรรมบางประการได้ เช่น การทำงาน แต่อย่างไรก็ตามจากการสำรวจและศึกษาต่าง ๆ พบว่ายังคงมีผู้สูงอายุจำนวนมากที่ยังคงทำงานอยู่ ดังนั้นในการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์สำหรับการศึกษาเพื่อศึกษาทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยที่การศึกษานี้ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งนำข้อมูลจากโครงการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ที่ดำเนินการสำรวจและเก็บข้อมูลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติมาใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 33,360 ราย สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคทวิภาค (Binary Logistic Regression Analysis) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การวิเคราะห์การแปรผันสองทาง (Bivariate Analysis) และการวิเคราะห์การแปรผันหลายทาง (Multivariate Analysis) จากการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุที่ยังคงทำงานมีร้อยละ 42.9 โดยสถานภาพการทำงานของผู้สูงอายุมากกว่าครึ่งหนึ่งประกอบธุรกิจของตนเอง (ร้อยละ 59.96) ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสในการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พบว่า ตัวแปรทั้งหมดสามารถอธิบายการทำงานของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 45.4 (R2 = 0.454) โดยที่ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาเกือบทั้งหมด ยกเว้นตัวแปรด้านความพึงพอใจในภาวะการเงินนั้นมีผลต่อโอกาสในการทำงานของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้จากผลการศึกษานี้ได้นำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายต่าง ๆ ที่ช่วยในการส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิของผู้สูงอายุในการทำงานซึ่งอาจเป็นกำลังแรงงานที่สำคัญของประเทศไทยในอนาคต คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ, การทำงาน, ประเทศไทย en_US
dc.description.abstractalternative Demographic transition in Thailand showed proportion of elderly person increased steadily. While old age makes some people unable to do some activities such as certain type of work, however, from many surveys and research it was found that most of elderly were still working. Therefore, this research aims to study labour force participation of the elderly in Thailand and to study the factors affecting the labour force of the elderly in Thailand. This research used data from the 2011 survey of older persons in Thailand that was conducted by the National Statistical Office. The sample of this research consisted of persons 60 years old and older. The sample size was 33,360 persons. Quantitative analysis was conducted by using descriptive statistics and binary logistic regression analysis in bivariate and multivariate analysis. The research found that 42.9 percent of elderly were still working and most of them were working as the owners of business. All factors that were used in this research could explain 45.4 percent of the labour force participation of elderly in Thailand. All factors except monetary satisfaction affected the labour force participation of elderly in Thailand. The result of this research can lead to policy recommendations that help in promoting and advocating the elderly to work and become an important part of the labour force in Thailand in the future. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.436
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ผู้สูงอายุ -- ไทย
dc.subject ผู้สูงอายุ -- การจ้างงาน -- ไทย
dc.subject Older people -- Thailand
dc.subject Older people -- Employment -- Thailand
dc.title การทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย en_US
dc.title.alternative Labour force participation of the elderly in Thailand en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ประชากรศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Pataporn.S@chula.ac.th,pataporn@hotmail.com,pataporn@hotmail.com en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2015.436


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record