DSpace Repository

การขยายขนาดการสังเคราะห์ไซโคลเด็กซ์ทรินเชื่อมกับไคโตซาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor อภินันท์ สุทธิธารธวัช en_US
dc.contributor.author นารินทร์ ไพบูลย์ en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2016-11-30T05:41:05Z
dc.date.available 2016-11-30T05:41:05Z
dc.date.issued 2558 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50003
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 en_US
dc.description.abstract ไซโคลเด็กซ์ทรินเชื่อมกับไคโตซานเป็นตัวพาที่ได้รับการพัฒนาเพื่อใช้ในระบบนำส่งยา ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้หลายด้าน โดยสังเคราะห์จากพาราโทลูอีนซัลโฟนิลไซโคลเด็กซ์ทรินและ ไคโตซานภายใต้สภาวะกรดและแยกสารให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิคไดอะไลซิส อย่างไรก็ตามการสังเคราะห์ดังกล่าวยังคงจำกัดอยู่ภายในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ในงานวิจัยนี้จึงศึกษาผลกระทบจากสภาวะในการสังเคราะห์ อันได้แก่ อัตราส่วน จำนวนโมลของไคโตซานต่อพาราโทลูอีนซัลโฟนิลไซโคลเด็กซ์ทริน อุณหภูมิการเกิดปฏิกิริยาและเวลาการเกิดปฏิกิริยาในระดับห้องปฏิบัติการ 250 มิลลิลิตรและศึกษาการขยายขนาดในระดับ 2 ลิตรและ 10 ลิตร ตามลำดับ วิเคราะห์ร้อยละการแทนที่ของเบต้าไซโคลเด็กซ์ทรินบนสายโซ่ไคโตซาน (The degree of N-substitution, DS) ด้วยเครื่องนิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนท์สเปกโตสโกปี (nuclear magnetic resonance, NMR) พบว่าร้อยละการแทนที่ของเบต้าไซโคลเด็กซ์ทรินบนสายโซ่ไคโตซานมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อโมลของพาราโทลูอีนซัลโฟนิลไซโคลเด็กซ์ทรินมีค่าเพิ่มขึ้น อุณหภูมิสูงขึ้นในช่วง 75-95 องศาเซลเซียสและมีค่าลดลงเมื่ออุณหภูมิมากกว่า 95 องศาเซลเซียส ส่วนเวลาการเกิดปฏิกิริยาพบว่าร้อยละการแทนที่ของเบต้าไซโคลเด็กซ์ทรินบนสายโซ่ไคโตซานมีค่าเพิ่มขึ้นตามเวลาที่มากขึ้นเช่นกัน ผู้วิจัยพบว่าความเร็วรอบในการปั่นกวน 450 รอบต่อนาทีเป็นความเร็วรอบที่เหมาะสมที่สุดในการสังเคราะห์ไซโคลเด็กซ์ทรินเชื่อมกับไคโตซานในเครื่องปฏิกรณ์ขนาด 2 ลิตร ซึ่งร้อยละการแทนที่ของเบต้าไซโคลเด็กซ์ทรินบนสายโซ่ไคโตซานมีค่าเท่ากับในระดับห้องปฏิบัติการ การศึกษาอัตราส่วนการขยายขนาดที่ใช้ขยายขนาดจากเครื่องปฏิกรณ์ขนาด 2 ลิตรเป็น 10 ลิตร พบว่าเมื่อกำหนดให้สัมประสิทธิ์การถ่ายโอนความร้อนคงที่ส่งผลให้ร้อยละการแทนที่ของเบต้าไซโคลเด็กซ์ทรินบนสายโซ่ไคโตซานมีค่าใกล้เคียงกับในระดับห้องปฏิบัติการและในเครื่องปฏิกรณ์ขนาด 2 ลิตร ส่วนการแยกสารให้บริสุทธิ์พบว่าสามารถการใช้ระบบกรองเมมเบรนแทนที่เทคนิคไดอะไลซิสได้เพื่อลดระยะเวลาและความยุ่งยากในการกำจัดสารละลายและผลิตภัณฑ์ข้างเคียง en_US
dc.description.abstractalternative Cyclodextrin grafted with chitosan (CD-g-CS) is a great combination particle that can be extensively used in many applications. The CD-g-CS is synthesized from tolusulfonyl beta-cyclodextrin (TsCD) and chitosan (CS). The reaction in laboratory scale took place under acidic condition and then was removed impurity by dialysis. The reaction process needs to scaled-up from 250 mL round bottom flask to 2 L and 10 L stirred-tank reactor. Different factors affecting synthesis of CD-g-CS were studied in laboratory scale whether mole ratio of TsCD, reaction temperature and reaction time. The degree of N-substitution (%DS) was determined by using 1H NMR spectroscopy depending on the number of TsCD per primary amino group of chitosan. The results showed that the %DS increased with an increased in mole ratio of TsCD and also increased with the raising reaction temperature from 75 to 95 °C. However, it decreased when the temperature was over 95 °C. Moreover %DS has increased with reaction time from 16 to 48 h. The optimum impeller impeller speed in 2 L reactor was 450 rpm. The constant heat transfer coefficient was successfully used as scale up factor in 10 L reactor. In the purification process, the membrane filtration was applied instead of dialysis technique in laboratory scale. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1406
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ระบบนำส่งยา
dc.subject ไคโตแซน
dc.subject ไซโคลเดกซตริน -- การสังเคราะห์
dc.subject ไซโคลเดกซตรินในเภสัชกรรมเทคโนโลยี
dc.subject Drug delivery systems
dc.subject Chitosan
dc.subject Cyclodextrins -- Synthesis
dc.subject Cyclodextrins in pharmaceutical technology
dc.title การขยายขนาดการสังเคราะห์ไซโคลเด็กซ์ทรินเชื่อมกับไคโตซาน en_US
dc.title.alternative Scale-up of chitosan - grafted cyclodextrin synthesis en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline วิศวกรรมเคมี en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Apinan.S@Chula.ac.th,apinan.s@chula.ac.th en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2015.1406


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record