Abstract:
โครงสร้างหลักของงานวิจัยในครั้งนี้ภายใต้วัตถุประสงค์ ว่าด้วยเรื่องการศึกษา วัฒนธรรมการผลิตลวดลายข้างรถบัสทัศนาจร และการศึกษากระบวนการผลิตเกม หรือศิลปะ นิวมีเดีย การศึกษาวัฒนธรรมการผลิตลวดลายข้างรถบัสทัศนาจรนั้นมีส่วนสัมพันธ์ กับบทบาท ประชากรศึกษา 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ประกอบการ หรือเจ้าของรถบัสเช่า กลุ่มช่างเพ้นท์ และกลุ่มผู้ใช้บริการ ผ่านเครื่องมือที่พัฒนามาจากแนวคิด ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ โดยนำมาสังเคราะห์สู่การศึกษากลไกและการผลิตเกม ในรูปแบบงานศิลปะ ที่ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด ให้ผู้ชมมีส่วนร่วม ให้เกิดการเรียนรู้ เข้าใจ ความงามที่เป็นต้นแบบจากงานผลิตลาย ที่มีอยู่จริงตาม ท้องถนน ความเข้าใจเรื่องรสนิยม การประกอบสร้างอัตลักษณ์ ที่ล้วนแล้วแต่ให้ความหมาย มากกว่าความเข้าใจจากตัวลายที่ปรากฏทางสายตาตามท้องถนน สู่ประเด็นแนวคิดแบบวัฒนธรรม ทางสายตา และสัญวิทยา การสร้างสรรค์ศิลปะนิวมีเดีย จากการศึกษาวัฒนธรรมเชิงการผลิตและกระบวนการผลิต “ศิลปะลวดลายข้างรถบัสทัศนาจรไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ผู้ชมงานสามารถสร้างสรรค์ ลวดลายรถบัสทัศนาจรได้ด้วยตนเอง ในฐานะผู้มีส่วนร่วมในผลงานสร้างสรรค์กับศิลปิน เปรียบ เสมือนเจ้าของรถบัสที่ควบคุมผลงานการผลิตลวดลายที่ได้ปรากฏทั่วไปตามท้องถนน โดยตัว แนวคิดทางศิลปะนี้ถูกสังเคราะห์มาจากแนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมประชานิยม ผ่านงานศิลปะ ป๊อปอาร์ท แนวคิดอัตลักษณ์ รสนิยม-ชนชั้น ที่ทำให้เน้นชัดเจนในวัฒนธรรมทางสายตา สิ่งเหล่านี้ได้นำมาถูกถ่ายทอดผ่านกลไกของเกม ที่ใช้เป็นสื่อกลางในผลงานการสร้างสรรค์ศิลป ะในครั้งนี้ โดยผู้วิจัยสร้างสรรค์เครื่องมือในเกมที่ยังคงแสดงรูปลักษณ์ของรถบัสจากกลุ่ม ผู้ประกอบ การที่เป็นแรงบันดาลใจในงานวิจัย โดยมีผู้ชมกลายเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานจากเกมให้ปรากฏ คล้ายคลึงและสามารถแสดงถึงรสนิยม วัฒนธรรมประชานิยม เป็นสำคัญ