DSpace Repository

ระบบเสียงและคำศัพท์ในภาษาที่พูดโดยคนเชื้อสายบ้าบ๋าในจังหวัดภูเก็ตและภาษามลายูบ้าบ๋า: การเปรียบเทียบแนวร่วมสมัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ en_US
dc.contributor.author ภัทริณี สุขสุอรรถ en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2016-12-01T08:03:49Z
dc.date.available 2016-12-01T08:03:49Z
dc.date.issued 2558 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50264
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบเสียงและคำศัพท์ในภาษาที่พูดโดยคนเชื้อสายบ้าบ๋าในจังหวัดภูเก็ตหรือภาษาภูเก็ตบ้าบ๋า และนำมาเปรียบเทียบกับระบบเสียงและคำศัพท์ภาษามลายูบ้าบ๋าที่เคยมีผู้ศึกษาไว้แล้ว รวมทั้งระบุความสัมพันธ์ระหว่างภาษาภูเก็ตบ้าบ๋าและภาษามลายูบ้าบ๋า ผลการวิเคราะห์และเปรียบเทียบด้านระบบเสียงพบว่า ภาษาภูเก็ตบ้าบ๋ามีระบบเสียงคล้ายกับภาษาไทยถิ่นภูเก็ต ในขณะที่ภาษามลายูบ้าบ๋ามีระบบเสียงคล้ายกับภาษามลายู ภาษาภูเก็ตบ้าบ๋ามีพยัญชนะ 21 หน่วยเสียง ซึ่งเป็นพยัญชนะต้นได้ทุกหน่วยเสียง เป็นพยัญชนะท้ายได้ 9 หน่วยเสียง มีพยัญชนะควบกล้ำ 10 เสียงซึ่งน้อยกว่าภาษาไทยถิ่นภูเก็ต 1 เสียงคือไม่มีเสียง ml- ภาษาภูเก็ตบ้าบ๋ามีสระเดี่ยว 18 หน่วยเสียง และสระประสม 6 หน่วยเสียง ทั้งสระเดี่ยวและสระประสมมีความต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างสระสั้นกับสระยาว ส่วนวรรณยุกต์มี 7 หน่วยเสียงเหมือนกับภาษาไทยถิ่นภูเก็ต ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ว่า ภาษาภูเก็ตบ้าบ๋าเป็นภาษามีวรรณยุกต์ ในขณะที่ภาษามลายูบ้าบ๋ามีพยัญชนะ 19 หน่วยเสียง ซึ่งเป็นพยัญชนะต้นได้ทุกหน่วยเสียง เป็นพยัญชนะท้ายได้ 10 หน่วยเสียง มีสระเดี่ยว 8 หน่วยเสียง และสระประสม 7 หน่วยเสียง ภาษามลายูบ้าบ๋าเป็นภาษาไม่มีวรรณยุกต์ ผลการวิจัยด้านคำศัพท์ จากคำศัพท์ทั้งสิ้น 2,000 คำ ที่เก็บข้อมูล พบว่า คำศัพท์คล้ายคลึงระหว่างภาษาภูเก็ตบ้าบ๋าและมลายูบ้าบ๋ามีจำนวน 510 คำ (ร้อยละ 25.5) แบ่งตามความเหมือน ความใกล้เคียง และความต่างบางประการด้านเสียง ความหมาย และไวยากรณ์ของคำศัพท์คล้ายคลึงได้เป็น 8 กลุ่ม มีข้อค้นพบว่าคำศัพท์กลุ่มที่ 2 ซึ่งออกเสียงต่างกันบางลักษณะ แต่มีลักษณะทางความหมายและไวยากรณ์เหมือนกัน มีจำนวนมากที่สุด คือ 248 คำ คิดเป็นร้อยละ 48.62 ของจำนวนคำศัพท์คล้ายคลึงทั้งหมด การที่ภาษาภูเก็ตบ้าบ๋ามีคำศัพท์คล้ายคลึงกับคำศัพท์ในภาษามลายูบ้าบ๋าเป็นจำนวนร้อยละ 25.5 ของคำศัพท์ทั้งหมด แต่ที่เหลืออีกร้อยละ 74.5 เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่คล้ายกับภาษาไทยถิ่นภูเก็ต แสดงว่าคนไทยเชื้อสายบ้าบ๋าน่าจะพูดวิธภาษาของภาษาไทยถิ่นภูเก็ต ส่วนที่มีคำศัพท์ภาษามลายูน้อยลงเพราะนำภาษาไทยถิ่นภูเก็ตมาแทนที่ ดังนั้น จึงปฏิเสธสมมุติฐานที่ตั้งไว้ว่าภาษาภูเก็ตบ้าบ๋าเป็นวิธภาษาของภาษามลายูบ้าบ๋า นอกจากนี้ ยังพบว่าคำศัพท์จำนวน 2,000 คำในภาษาภูเก็ตบ้าบ๋าและภาษามลายูบ้าบ๋าเป็นคำศัพท์ทั่วไปจำนวน 1,819 คำ (ร้อยละ 90.95) และเป็นคำศัพท์เกี่ยวกับวัฒนธรรมจำนวน 181 คำ (ร้อยละ 9.05) คำศัพท์ทั่วไปในภาษาภูเก็ตบ้าบ๋าส่วนใหญ่มาจากภาษาไทยถิ่นภูเก็ตซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน ส่วนคำศัพท์เกี่ยวกับวัฒนธรรมพบว่าเป็นคำศัพท์คล้ายคลึงระหว่างภาษาภูเก็ตบ้าบ๋ากับมลายูบ้าบ๋าทั้งหมด คำศัพท์เกี่ยวกับวัฒนธรรมในภาษาภูเก็ตบ้าบ๋าส่วนใหญ่เป็นภาษามลายูบ้าบ๋า ที่มาจากภาษาจีนฮกเกี้ยนถิ่นเซี่ยเหมิน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน en_US
dc.description.abstractalternative This research aims to analyse and compare the sound systems and lexicons between Baba Phuket and Baba Malay from 2,000 words. The research result reveals that the sound system of Baba Phuket is similar to that of the Phuket Thai dialect while the sound system of Baba Malay is similar to that of Malay. There are 21 consonant phonemes in Baba Phuket, all of them can occur in the initial position but 9 of them occur in the final position. Baba Phuket has also 10 consonant clusters (CC-); unlike Phuket Thai dialect, it has no ml-. With regard to vowels, there are 18 monophthongs and 6 diphthongs. Baba Phuket has contrastive vowel length. Baba Phuket is tonal while Baba Malay is non-tonal. Like Phuket Thai dialect, Baba Phuket has a tonal system of 7 tones and these 7 tones have almost identical phonetic characteristics in both languages. This research result supports the hypothesis. In Baba Malay, there are 19 consonant phonemes, all of them can occur in the initial position but 10 of them can occur in the final position. Baba Malay has 8 monophthongs and 7 diphthongs. In terms of lexicon, Baba Malay and Baba Phuket share 510 look-alike words (25% of all 2,000 words). The look-alike words can be classified into 8 groups, the second group of these look-alike words have mostly been found (248 words or 48.62% of all look-alike words ). 74.5% of all 2,000 words are similar to the words of Phuket Thai dialect. Therefore, Baba Phuket may be regarded as a variety of Phuket Thai dialect . Moreover, 1,819 words (or 90.95% of all 2,000 words) are general words used in everyday life and 181 words (or 9.05% of all 2,000 words) are cultural words. Most of Baba Phuket general words have been borrowed from Phuket Thai dialect while Baba Phuket and Baba Malay shared cultural words, mostly Hokkien words. These research results also support the hypotheses. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.943
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ภาษามลายูบ้าบ๋า -- การออกเสียง
dc.subject ภาษาบ้าบ๋า -- การออกเสียง
dc.subject ภาษาถิ่น
dc.subject Baba Malay -- Pronunciation
dc.subject Baba Phuket -- Pronunciation
dc.subject Dialectology
dc.title ระบบเสียงและคำศัพท์ในภาษาที่พูดโดยคนเชื้อสายบ้าบ๋าในจังหวัดภูเก็ตและภาษามลายูบ้าบ๋า: การเปรียบเทียบแนวร่วมสมัย en_US
dc.title.alternative Sound systems and lexicons of the language spoken by the Baba in Changwat Phuket and the Baba Malay language : a synchronic comparison en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ภาษาศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Theraphan.L@Chula.ac.th,theraphan.l@gmail.com,theraphan.l@gmail.com en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2015.943


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record