DSpace Repository

ประสบการณ์ทางจิตใจของมารดาที่บุตรได้รับการวินิจฉัยภาวะดาวน์ก่อนคลอด

Show simple item record

dc.contributor.advisor ณัฐสุดา เต้พันธ์ en_US
dc.contributor.advisor กรรณิการ์ นลราชสุวัจน์ en_US
dc.contributor.author ศนิ พงษ์สุระนันทน์ en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา en_US
dc.date.accessioned 2016-12-01T08:06:11Z
dc.date.available 2016-12-01T08:06:11Z
dc.date.issued 2558 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50384
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของมารดาที่บุตรได้รับการวินิจฉัยภาวะดาวน์ก่อนคลอด โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 7 ราย เป็นมารดาที่เข้ารับการตรวจคัดกรองและตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมขณะตั้งครรภ์ โดยผลการตรวจวินิจฉัยพบว่าบุตรมีภาวะดาวน์และมารดาตัดสินใจดำเนินการตั้งครรภ์ต่อ ซึ่งมีอายุระหว่าง 38 ถึง 44 ปี คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสบการณ์ทางจิตใจของมารดาที่บุตรได้รับการวินิจฉัยภาวะดาวน์ก่อนคลอด พบ 5 ประเด็นหลัก คือ (1) มุมมองของมารดาที่มีต่อภาวะดาวน์ ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อยคือ การเริ่มต้นด้วยมุมมองทางลบต่อภาวะดาวน์ การเกิดความเข้าใจและยอมรับภาวะดาวน์และอยากที่จะแบ่งปันประสบการณ์ และความปรารถนาให้สังคมเข้าใจภาวะดาวน์ (2) สายใยความสัมพันธ์ระหว่างมารดาและบุตร ซึ่งประกอบด้วย 2 ประเด็นรองคือ การเกิดสายใยความรักความผูกพันระหว่างมารดาและบุตร และความกังวลของมารดา (3) ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อมารดาทราบว่าบุตรมีภาวะดาวน์ก่อนคลอด ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อยคือ ความรู้สึกแรกเมื่อรู้ว่าบุตรมีภาวะดาวน์ ความรู้สึกต่อเนื่องเมื่อมารดาทราบว่าบุตรมีภาวะดาวน์ และการโทษตัวเองหรือสามีว่าเป็นสาเหตุทำให้บุตรมีภาวะดาวน์ (4) การตัดสินใจดำเนินการตั้งครรภ์ต่อ ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อยคือ การเผชิญการตัดสินใจ บุคคลที่มีส่วนช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ การแสวงหาวิธีสนับสนุนทางจิตใจอื่นๆของมารดา การแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับภาวะดาวน์เพื่อประกอบการตัดสินใจ และผลทางจิตใจที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจ (5) การเลี้ยงดูบุตรที่มีภาวะดาวน์ ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อยคือ การได้รับความช่วยเหลือในการเลี้ยงดูบุตรที่มีภาวะดาวน์จากบุคคลรอบข้าง การเปลี่ยนแปลงตัวตนของมารดาจากการเลี้ยงดูลูกที่มีภาวะดาวน์ และแนวทางในการเลี้ยงดูบุตรที่มีภาวะดาวน์ ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถช่วยให้เข้าใจประสบการณ์ทางจิตใจของมารดาที่บุตรได้รับการตรวจวินิจฉัยภาวะดาวน์ก่อนคลอด อันเป็นประโยชน์สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่จะเข้ารับบริการการตรวจคัดกรอง และตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมก่อนคลอด อีกทั้งเป็นข้อมูลในการตัดสินใจหากตรวจพบว่าบุตรมีภาวะดาวน์ รวมถึงเป็นแนวทางสำหรับหน่วยงาน องค์กร บุคลากร หรือนักจิตวิทยาการปรึกษาที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสนับสนุนให้เกิดการช่วยเหลือทางจิตใจของหญิงตั้งครรภ์ที่ตรวจพบว่าบุตรมีภาวะดาวน์กลุ่มนี้ต่อไป en_US
dc.description.abstractalternative This research aimed to examine the psychological experiences of mothers with prenatal diagnosed Down syndrome (DS) child. Interpretative phenomenological analysis research method was employed in this research. Participants were seven mothers, aged between thirty-eight to forty-four years old who received the diagnosis of genetic diseases and the results of the tests showed that children with DS and pregnant mothers decided to continue their pregnancy. Informants selected by purposive sampling. Data were collected via in-depth interview method. An analyzed of psychological experience of mother with prenatal diagnosed DS child resulted in five main themes which were (1) Attitude of the mothers toward the DS consisted of starting with a negative attitude toward DS, understanding and acceptance of DS and having willingness to share the experience, and desire an understanding toward DS from society (2) Bonding between mother and child consisted of loving and attachment bond between mother and child, and worrrying about DS child (3) Feeling that occurs when mother received a prenatal diagnosis with DS child consisted of the primary feeling when mother know about child with DS, continued feeling after know about child with DS, and mother blaming herself and husband for the cause of child with DS (4) Decision to continue the pregnancy consisted of decision making to continue or terminate pregnancy, support from family and friends, seeking for psychological support, seeking for information about DS, and psychological effects from decision making (5) Parenting a child with DS consisted of helping from family members and others for caring on child with DS, internal changing of the mother of child with DS, and guidelines for caring on child with DS. The research findings provide better understanding on psychological experience of mother with prenatal diagnosed DS child. The result can be beneficial for pregnant women to get information about screened test, prenatal diagnosis and also help women to making decision about to continue or terminate. The result can be used as guidelines for organizations in providing psychological support for pregnant women that children with DS. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title ประสบการณ์ทางจิตใจของมารดาที่บุตรได้รับการวินิจฉัยภาวะดาวน์ก่อนคลอด en_US
dc.title.alternative PSYCHOLOGICAL EXPERIENCE OF MOTHER WITH PRENATAL DIAGNOSED DOWN SYNDROME CHILD en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline จิตวิทยา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Nattasuda.T@Chula.ac.th,tnattasuda@gmail.com en_US
dc.email.advisor Kannikar.N@Chula.ac.th,rajsuwat2556@gmail.com en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record