DSpace Repository

ภาพลักษณ์คอร์รัปชันกับผลต่อความเชื่อมั่นของบรรษัทข้ามชาติ ที่เข้ามาทำการลงทุนในประเทศไทย : กรณีศึกษาบรรษัทข้ามชาติที่ประกอบอุตสาหกรรมประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า

Show simple item record

dc.contributor.advisor เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา en_US
dc.contributor.author ฉันท์ชนก เจนณรงค์ en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2016-12-01T08:06:16Z
dc.date.available 2016-12-01T08:06:16Z
dc.date.issued 2558 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50392
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 en_US
dc.description.abstract การคอร์รัปชัน (Corruption) เป็นปัญหาที่ฝังรากลึกในสังคมมาอย่างยาวนาน ซึ่งประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และในยุคโลกาภิวัตน์ที่ได้มีการเกิดขึ้นของโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ อันส่งผลให้มีการลงทุนข้ามชาติในรูปแบบของบรรษัทข้ามชาติ (Multi-national Corporations) โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการลงทุนของบรรษัทข้ามชาติ เช่น ปัจจัยด้านการตลาด ปัจจัยด้านทรัพยากร ปัจจัยด้านวัฒนธรรมเป็นต้น และปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่บรรษัทข้ามชาติได้ให้ความสำคัญ คือ ปัจจัยด้านการคอร์รัปชัน เนื่องจากทำให้มีต้นทุนในการลงทุนสูงขึ้นจากการจ่ายสินบนเจ้าหน้าที่รัฐในต่างประเทศและยังทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียมกันอีกด้วย ปัจจุบันนี้ ได้มีองค์กรระหว่างประเทศทำการสำรวจ วิเคราะห์ และเผยแพร่สถานการณ์การคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ซึ่งดัชนีชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันที่ทำการศึกษา ได้แก่ หนึ่ง ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index : CPI) สอง การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน (Global Competitiveness Index -GCI) และ สาม ดัชนีธรรมาภิบาลโลก (Worldwide Governance Indicators - WGI) ทั้งนี้ เพื่อศึกษาผลกระทบของดัชนีชี้วัดดังกล่าวที่มีต่อการตัดสินใจในการลงทุนของบรรษัทข้ามชาติที่ประกอบธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งทำการศึกษาโดยการสัมภาษณ์บรรษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย นักวิชาการและนักปฏิบัติที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการต่อต้านการคอร์รัปชัน และผู้แทนจากสมาคมธุรกิจ โดยผลการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านการคอร์รัปชันส่งผลต่อการตัดสินในการลงทุนน้อยมากเมื่อเทียบกับปัจจัยอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสเติบโตของธุรกิจและผลตอบแทนที่ได้รับ en_US
dc.description.abstractalternative Corruption is a deep-seated problem in society for a long time that many nations have to unavoidably face. The age of globalization created global economy which resulted with transnational investment by Multi-national Corporations. The factors that impact the decision for transnational investment are e.g., marketing, resources, and culture. Another important factor that Multi-nation Corporations consider is the corruption factor i.e., because bribes for officials in different countries increases the cost factor, as well as creating unfair competitions. Presently there are international organizations that investigate, analyze, and distribute their findings on corruption situations in various countries. The indicators utilized in the studies of corruptions are as following: 1) Corruption Perceptions Index – CPI 2) Global Competitiveness Index – GCI 3) Worldwide Governance Indicators – WGI. To study the effect of aforementioned indicators on decision making by Transnational Corporations Electronic Industries’ Investment in Thailand, interviews were conducted with Multi-national corporate investors in Thailand, scholars & experts who are knowledgeable and experienced in opposing corruption, and business association representatives. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title ภาพลักษณ์คอร์รัปชันกับผลต่อความเชื่อมั่นของบรรษัทข้ามชาติ ที่เข้ามาทำการลงทุนในประเทศไทย : กรณีศึกษาบรรษัทข้ามชาติที่ประกอบอุตสาหกรรมประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า en_US
dc.title.alternative PERCEPTIONS OF CORRUPTION AND ITS IMPACT ON THE CONFIDENCE OF TRANSNATIONAL CORPORATIONS IN INVESTING IN THAILAND: A CASE STUDY OF TRANSNATIONAL CORPORATIONS IN THE ELECTRICAL APPLIANCE INDUSTRY en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การเมืองและการจัดการปกครอง en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Ake.T@Chula.ac.th,ake.tangsupvattana@gmail.com en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record