Abstract:
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานการแสดง และหาแนวคิดในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในแนวคิด เบื้องหน้าเบื้องหลัง โดยใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และเชิงคุณภาพ และได้เก็บข้อมูลจากเอกสารตำรา สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับงานวิจัย สื่อสารสนเทศ สำรวจข้อมูลภาคสนาม การสัมมนา สังเกตการณ์ และเกณฑ์มาตรฐานศิลปิน ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย โดยนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทดลอง แก้ไขและสรุปผล ผลการวิจัยพบว่าการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในแนวคิดเบื้องหน้าเบื้องหลังได้ผ่านการวิเคราะห์ เพี่อหาคำถามการวิจัยและอภิปรายผลตามองค์ประกอบนาฏยศิลป์ได้ดังนี้ 1) ออกแบบบทการแสดงเป็น 3 องก์ ได้แก่ เบื้องหน้า เบื้องหลัง และเบื้องหน้าเบื้องหลัง 2) ออกแบบเสียงใช้วงดนตรีไทยเดิมบรรเลงโดยใช้คีตปฏิภาณ(improvisation) 3) ออกแบบลีลาโดยใช้ความหลากหลาย ของนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยที่ผสมผสานระหว่างนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่(Post-Moderndance) และท่าในชีวิตประจำวัน(Everyday Movement) 4) การออกแบบเครื่องแต่งกายมีการลดทอนรายละเอียดให้เหลือแต่โครงสร้างภายใต้แนวคิด minimalism และโปรงใส(see through)ตามแนวคิดหลักของการมองเห็นเบื้องหน้าเบื้องหลัง 5) การออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดงเน้นความสมจริงแต่เรียบง่าย 6) การออกแบบสถานที่พื้นที่เวทีการแสดงใช้แนวคิดโพสโมเดิร์น (Post-Modern) เสนอเบื้องหน้า เบื้องหลังและผู้ชมทั้ง 3 เหตุการณ์พร้อมกัน 7) การออกแบบแสงเบื้องหน้าใช้แสงเคลื่อนไหวแต่เบื้องหลังใช้แสงนิ่ง 8) คัดเลือกนักแสดงแบบ try out นอกจากนี้การสร้างสรรค์ผลงานยังได้คำนึงถึงแนวคิดสำคัญอีก 5 ประเด็นคือ 1) แนวคิดการแสดงเบื้องหน้าเบื้องหลัง (Front and back) 2) ความคิดสร้างสรรค์ 3) ความหลากหลายในการแสดง 4) การคำนึงถึงทฤษฎีและแนวคิดโพสโมเดิร์น(Post-modern) 5) การคำนึงถึงการใช้สัญลักษณ์เพื่อสื่อสารในการแสดง จากแบบสำรวจความคิดเห็น พบว่าร้อยละ 80 มีความพึงพอใจแต่ประเด็นสำคัญที่ความนำมาอภิปรายคือการออกแบบสถานที่ ยังสื่อความหมายได้ไม่เด่นชัดดั้งนั้นผู้วิจัยจะนำไปเป็นข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป การวิจัยครั้งนี้สามารถตอบคำถามตรงตามทุกองก์ประกอบของงานวิจัยสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย ในแนวคิดเบื้องหน้าเบื้องหลังทุกประการ ดังนั้นผลงานชิ้นนี้จะเป็นข้อมูลในการสร้างนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในอนาคตต่อไป