DSpace Repository

พัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน : การศึกษาผลกระทบของปฏิสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตร

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ en_US
dc.contributor.author ศิริพงศ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2016-12-01T08:07:26Z
dc.date.available 2016-12-01T08:07:26Z
dc.date.issued 2558 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50434
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงอิทธิพลของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตรต่อพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนทางด้านสติปัญญาและด้านอารมณ์และสังคมโดยศึกษาจากข้อมูลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีวัยเจริญพันธุ์ ประเทศไทย พ.ศ.2555 หรือ (Multiple Indicator Cluster Survey; MICS) สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ คือ เด็กก่อนวัยเรียนอายุ 3-4 ปี จำนวน 4,362 คน จากผลการวิเคราะห์สมการถดถอยด้วยแบบจำลองแบบโพรบิต (probit regression) ได้ข้อค้นพบหลัก 2 ประการ คือ ในกรณีพัฒนาการทางสติปัญญา เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่ได้ทำกิจกรรมกับใคร การมีปฏิสัมพันธ์กับทั้งมารดาและบิดาของเด็กก่อนวัยเรียนมีผลบวกต่อพัฒนาการทางสติปัญญาที่สมวัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับในกรณีพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม พบว่า การมีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกคนอื่นนอกเหนือไปจากบิดามารดาของเด็กก่อนวัยเรียนมีผลบวกพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมที่สมวัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมากกว่าเด็กที่ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับใคร นอกจากนี้ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กก่อนวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุเด็ก ประวัติการดื่มนมแม่ ภูมิภาค ระดับเศรษฐสถานะของครัวเรือน จำนวนผู้สูงอายุในครัวเรือน ระดับการศึกษาของมารดา/ผู้ดูแลหลัก การได้รับการศึกษาก่อนวัยเรียน และการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในขณะเดียวกัน ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมของเด็กก่อนวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ จำนวนผู้สูงอายุในครัวเรือน จำนวนเด็กในครัวเรือน อายุของมารดาหรือผู้ดูแลหลัก การได้รับการศึกษาก่อนวัยเรียน และการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร en_US
dc.description.abstractalternative This study aims to examine the effects of parent-child interaction on preschool children‘s cognitive and non-cognitive development using secondary data from Multiple Indicator Cluster Survey (MICS4) of Thailand. Our analyses use multivariate regressions to investigate the cognitive and non-cognitive development of children aged 3-4 years. There are two main findings from Probit regression analyses. We find that the interaction of both father and mother with their child has a positive effect on the cognitive development, while the interaction with a non-parent individual within the household has positive impacts on the non-cognitive development. In addition, our results show that there are other factors that influence child development. As for cognitive development, these factors include age of the child, breastfeeding history, region of residence, economic status of the household, the number of elderly in the household, educational level of mother or main caregiver, having preschool education, and nutritional supplements. As for non-cognitive development, these factors are gender of the child, the number of elderly in the household, age of the mother or main caregiver, having preschool education and, nutritional supplements. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title พัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน : การศึกษาผลกระทบของปฏิสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตร en_US
dc.title.alternative Pre-school Children's Development : An Investigation on the Effects of Parent-child Interaction en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline ประชากรศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Pungpond.R@chula.ac.th,pungpond_r@yahoo.com,pungpond_r@yahoo.com en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record