Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์แบบ Contemporaneous growth และ Dynamic growth ระหว่างอัตราการเติบโตของปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ต่ออัตราผลตอบแทนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศที่เข้าร่วมพิธีสารเกียวโต รวม 20 ประเทศแบ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาคผนวกที่ 1 จำนวน 10 ประเทศ และประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งอยู่ในกลุ่มนอกภาคผนวกที่ 1 ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลช่วงยาว ศึกษาความสัมพันธ์แบบ Contemporaneous growth และ Dynamic growth ด้วยวิธี Panel Regression และ Panel VAR โดยใช้ข้อมูลรายปี ตั้งแต่ปี 2003 – 2013 ผลการศึกษา กรณีการทดสอบความสัมพันธ์แบบ Contemporaneous growth พบความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกันระหว่างอัตราการเติบโตของปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์และอัตราผลตอบแทนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้วเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์สูง และการเข้าควบคุมนั้นจะทำให้ต้นทุนในการทำอุตสาหกรรมสูงขึ้น กำไรจากการดำเนินงานลดลง ส่งผลให้ราคาหลักทรัพย์ในอุตสาหกรรมนั้นลดต่ำลง และผลตอบแทนในตลาดหลักทรัพย์จะปรับตัวลงลงเช่นเดียวกัน ในขณะที่การศึกษาแยกทีละประเทศพบว่าอัตราการเติบโตของปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์มีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศนั้นๆ ทุกประเทศ แตกต่างกันไปตามทิศทางของความสัมพันธ์ กรณีการทดสอบความสัมพันธ์แบบ Dynamic growth พบว่าอัตราการเติบโตของปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ไม่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราผลตอบแทนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้นเพื่อที่จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์และไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนในตลาดหลักทรัพย์ โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยควรเปลี่ยนแปลงตามแบบประเทศที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม และสนับสนุนอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่ไม่กระทบต่ออัตราผลตอบแทนในตลาดหลักทรัพย์ เช่น อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ เป็นต้น