dc.contributor.advisor |
อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ |
en_US |
dc.contributor.author |
อรุณี ศุทธิชัยนิมิต |
en_US |
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
en_US |
dc.date.accessioned |
2016-12-02T02:06:11Z |
|
dc.date.available |
2016-12-02T02:06:11Z |
|
dc.date.issued |
2558 |
en_US |
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50900 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
en_US |
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ด้านจิตใจของสมาชิกครอบครัวภายหลังการเปิดเผยตนเองของผู้ทีมีความโน้มเอียงทางเพศแบบรักเพศเดียวกัน ผู้ให้ข้อมูลเป็นสมาชิกครอบครัวที่ใกล้ชิดของผู้ที่มีความโน้มเอียงทางเพศแบบรักเพศเดียวกันจำนวน 7 ราย คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์รายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบทีมผู้วิจัยเห็นชอบร่วมกัน ผลการศึกษาพบ 4 ประเด็นหลักคือ (1) เมื่อเริ่มรับรู้ว่าคนในบ้านมีความโน้มเอียงทางเพศแบบรักเพศเดียวกัน ได้แก่ จุดเริ่มต้นในการรับรู้ถึงความโน้มเอียงทางเพศแบบรักเพศเดียวกัน ความรู้สึกไม่อยากเชื่อหรือนึกไม่ถึงในตอนแรกที่ทราบ ความรู้สึกความคิดและการแสดงออกเมื่อเริ่มแน่ใจว่าสมาชิกครอบครัวรักเพศเดียวกัน และสุดท้ายเป็นการตระหนักถึงกรอบความคิดความเชื่อของตนเองเกี่ยวกับการรักเพศเดียวกัน (2) สิ่งที่เกิดขึ้นภายในตนเองภายหลังการเปิดเผยตนเองของสมาชิกครอบครัว ได้แก่ การต่อรองทางความคิดความขัดแย้งในตนเอง ความรู้สึกห่างเหิน และการต่อสู้กับความคิด ความเชื่อและปรับมุมมอง (3) ปัจจัยที่เอื้อไปสู่การยอมรับความโน้มเอียงทางเพศของสมาชิกครอบครัว ได้แก่ การได้รู้จักคนรักของสมาชิกครอบครัว การขยายมุมมองและความเข้าใจต่อสมาชิกครอบครัว การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของสมาชิกครอบครัว และการตระหนักรู้ว่าการรักเพศเดียวกันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้แล้ว (4) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังการยอมรับความโน้มเอียงทางเพศ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในตนเอง การฟื้นคืนความสัมพันธ์ที่มีกับสมาชิกครอบครัวที่เป็นบุคคลรักเพศเดียวกัน การเลือกวางตัวต่อการเปิดเผยความโน้มเอียงทางเพศแบบรักเพศเดียวกันต่อบุคคลอื่น การเปลี่ยนแปลงมุมมองหรือทัศนคติต่อเรื่องเพศ และการเปลี่ยนแปลงภายในครอบครัวโดยรวม |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This study aimed to examine the psychological experiences of family members with coming-out persons with homosexual orientation. Key informants were 7 persons who had at least one of family members being gay or lesbian. As required in the study, all the key informants accepted the family member's sexual orientation. Data were collected by an in-depth interview and analyzed by using consensus qualitative research method. The results revealed four domains of experiences: (1) Beginning to know the family member's homosexual orientation (2) Experiences internal conflicts (3) Factors influencing the acceptance of family member's homosexual orientation (4) Changes after acceptance. These research findings could be applied to better understanding the familys' problems during coming out process and could guide practitioners to provide proper psychological services for family members. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.828 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
รักร่วมเพศ |
|
dc.subject |
ครอบครัว -- แง่จิตวิทยา |
|
dc.subject |
Homosexuality |
|
dc.subject |
Families -- Psychological aspects |
|
dc.title |
ประสบการณ์ด้านจิตใจของสมาชิกในครอบครัวภายหลังการเปิดเผยตนเองของผู้ที่มีความโน้มเอียงทางเพศแบบรักเพศเดียวกัน |
en_US |
dc.title.alternative |
PSYCHOLOGICAL EXPERIENCES OF FAMILY MEMBERS AFTER COMING OUT OF PERSONS WITH HOMOSEXUAL ORIENTATION |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
จิตวิทยา |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Arunya.T@Chula.ac.th,atuicomepee@gmail.com |
en_US |
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2015.828 |
|