Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้ ศึกษาบทบาทของกองทัพบกในฐานะกลุ่มผลประโยยชนทางการเมือง ศึกษาช่วง พ.ศ. 2535-2540 เนื่องจากการรัฐประหารครั้งล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดยพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ และคณะ เป็นปฏิบัติการที่ขัดต่อกระแสโลกาภิวัฒน์ ตลอดช่วงปี พ.ศ. 2535-2540 ระบอบการเมืองมีความเปราะบาง คณะทหารถูกท้าทายด้วยวิฤตการณ์ทางการเมืองที่เต็มไปด้วยเงื่อนไขของการปฏิวัติ แต่ก็ไม่ปรากฏการแทรกแซงทางการเมืองโดยการใช้กำลังหรือเป็นผู้เข้าไปใช้อำนาจรัฐเอง การศึกษาใช้วิธีการสัมภาษณ์ นักวิชาการและทหารที่มีชั้นยศตั้งแต่พันเอกขึ้นไปจนถึงพลเอกสรุปผลได้ว่า กองทัพบกในฐานะกลุ่มผลประโยชน์เชิงสภาบันมีแนวโน้มเข้าใจในระบบการเมืองของโลกยุคปัจจุบันที่ยอมรับการปกครองระบอบประชาธิปไตย การผลักดันทางการเมือง ใช้วิธีการที่สอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีการยอมรับในอิทธิพลของยุค IT (information technology) แต่ในขณะเดียวกัน ปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดการแทรกแซงทางการเมืองของทหารยังปรากฏอยู่ในสังคมการเมืองไทยและอิทธิพลของยุค IT ก็ไม่ได้มีอิทธิพลเหนือความรู้สึกต่อหน้าที่ในการปกป้องประเทศชาติของเหล่าทหาร โดยที่ทหารเป็นผู้ที่มีความเคร่งครัดในระเบียบวินัยสูง บทบาทของผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลในการแสดงบทบาททางการเมืองไปในทิศทางใด ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา คือ การจัดความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพลเรือนกับสถาบันกองทัพ โดยการสร้างความเป็นทหารอาชีพให้เกิดขึ้น มีอิสระในการพัฒนาตนเองในทางวิชาชีพ เพื่อที่กองทัพจะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพของรัฐ ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลพลเรือน และการสร้างความสามารถให้แก่พลเรือน ซึ่งก็คือสังคมประชา พรรคการเมือง รัฐสภา และรัฐบาล ในอันที่จะตรวจสอบควบคุมกิจการทหารได้อย่างมีความเข้าใจและเท่ากัน