DSpace Repository

ผลของละครสร้างสรรค์ต่อการมองเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กและเยาวชนที่ถูกกระทำทารุณกรรมที่มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก : การศึกษานำร่อง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปริชวัน จันทร์ศิริ en_US
dc.contributor.author ถลัชนันท์ ชัยนเรศ en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2016-12-02T06:02:12Z
dc.date.available 2016-12-02T06:02:12Z
dc.date.issued 2558 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51201
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 en_US
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องผลของละครสร้างสรรค์ต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กที่ถูกกระทำทารุณกรรมที่มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาผลของละครสร้างสรรค์ต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กและเยาวชนที่ถูกกระทำทารุณกรรมที่มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก โดยกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าและเกณฑ์การคัดออกจะได้เข้าร่วมกิจกรรมละครสร้างสรรค์เป็นระยะเวลา 7 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม จะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลการเห็นคุณค่าในตนเองของกลุ่มตัวอย่างจากการศึกษาเอกสาร การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participant Observation) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากคุณบุญนิสา บุญประสพ นักบำบัดผู้เชี่ยวชาญด้านการทำละครบำบัดของมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ด้วยแนวคำถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นจากการศึกษาหาข้อมูล ทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการกระทำทารุณกรรม การมองเห็นคุณค่าในตนเอง และละครสร้างสรรค์ ก่อนที่จะนำขึ้นปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อการปรับปรุงและแก้ไขให้เกิดความสมบูรณ์ ผลการวิจัยพบว่าผู้นำกิจกรรมและรูปแบบของกิจกรรมละครสร้างสรรค์นั้นเป็นปัจจัยที่ทำให้การเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กที่ถูกกระทำทารุณกรรมในกลุ่มตัวอย่างสูงขึ้น เพราะละครสร้างสรรค์ให้เสรีภาพในการแสดงออกอย่างเต็มที่แก่เด็กที่ถูกกระทำ และผู้นำกิจกรรมก็มีการสื่อสารในเชิงบวกกับเด็กๆเสมอ ไม่ว่าความคิดเห็นของเด็กจะเป็นไปในลักษณะใดก็ไม่มีถูกไม่มีผิด ผู้นำกิจกรรมรับฟังและยอมรับรวมทั้งให้การสะท้อนกลับในเชิงบวก ทำให้เด็กๆรู้สึกดีและมีความสุข มั่นใจและกล้าแสดงออก รู้สึกว่าตัวเองเป็นที่ยอมรับ และมีมุมมองต่อความสามารถในแง่ของการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น แต่การสื่อสารในเชิงลบระหว่างเด็กๆด้วยกันเองเช่นการตำหนิติเตียนด้วยคำพูดที่ทำร้ายความรู้สึก ประกอบกับการขาดการสื่อสารในเชิงบวกเช่นการชื่นชมกันและกัน ส่งผลให้การเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กที่ถูกกระทำทารุณกรรมต่ำลง ทั้งในแง่ของอารมณ์และความสุข ความภูมิใจในตนเอง ความมั่นใจในตนเอง ความกล้าแสดงออก และความรู้สึกเป็นที่ยอมรับจากเพื่อน แต่ในเรื่องของการปรับตัวและความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรคนั้น แม้พบว่ายังคงท้าทายอย่างมาก แต่สุดท้ายเด็กๆก็ช่วยกันทำละครให้สำเร็จลงได้ จึงนับว่าอยู่ในระดับที่ไม่ได้เปลี่ยนไปจากเดิม en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this qualitative thesis is to study an effect of creative drama on self esteem of abused children and youth at the center for the protection of children's rights foundation. Four of the target population who passed the inclusion and exclusion criteria were purposively chosen to attend the creative drama activity which lasted 2 hours per time for seven times. Before and after creative drama activity, self esteem of the sample population were collected by studying their mental notes, non-participant observation of researcher and In-depth Interview with Ms. Boonnisa Boonprasop, the therapist who is expert at drama therapy at the center for the protection of children's rights foundation. The questions used in the collecting methodology were created by researcher and approved by the specialist in the field of drama and abused children. The study found the factors that were able to increase self esteem of abused children and youth at the center for the protection of children's rights foundation were the facilitator and the form of creative drama activity. Since creative drama is based on an attitude that all of the ideas are always possible; no matter what the children thought, expressed or acted out were no right and no wrong, the vibe of creative drama activity that was non-judgement provided abused children the freedom to express themselves. Moreover, every time that children dared to express their opinions and show their abilities, the facilitator gave them positive feedbacks which helped increase their happiness, self confidence, the feeling of being acceptable, and made the views towards their own creativity and independence better. However, the study found there was the factor that decreased self esteem of abused children and youth at the center for the protection of children's rights foundation also. It is the negative reaction towards each other of abused children themselves that decreased their happiness, self-pride, self-confidence, and the feeling of being acceptable by friends. Another challenging area of self-esteem which the study found it was hard to build in abused children was an ability to adapt and get through obstacles but the result showed it was still in the same level as it had been before attending the creative drama activity. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.703
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ความนับถือตนเองในเด็ก
dc.subject ละคร -- แง่จิตวิทยา
dc.subject ละครบำบัด
dc.subject เด็กที่ถูกทารุณ
dc.subject Self-esteem in children
dc.subject Theater -- Psychological aspects
dc.subject Psychodrama
dc.subject Abused children
dc.title ผลของละครสร้างสรรค์ต่อการมองเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กและเยาวชนที่ถูกกระทำทารุณกรรมที่มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก : การศึกษานำร่อง en_US
dc.title.alternative The effect of creative drama on self esteem of abused children and youth at the center for the protection of children's rights foundation : the pilot study en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สุขภาพจิต en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor parichawan@yahoo.com,parichawan@hotmail.com en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2015.703


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record