dc.contributor.advisor |
สมชาย เศรษฐศิริสมบัติ |
|
dc.contributor.author |
เจษฎา ลาภสุขกิจกุล |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2016-12-07T10:11:18Z |
|
dc.date.available |
2016-12-07T10:11:18Z |
|
dc.date.issued |
2554 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51405 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
en_US |
dc.description.abstract |
เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝังรากเทียมแบบขั้นตอนเดียวและสองขั้นตอน ในด้านลักษณะเนื้อเยื่อรอบรากเทียม (ดัชนีคราบจุลินทรีย์ ดัชนีภาวะการมีเลือดออกของเหงือก ดัชนีสภาพเหงือก ร่องลึกปริทันต์ และปริมาณเยื่อเมือกที่มีเคอราติน) ระดับสันกระดูกรอบรากเทียม เสถียรภาพของรากเทียม และภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัด โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่กลุ่มงานทันตกรรม สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่เดือนกันยายน 2553 ถึงเดือนมีนาคม 2554 จำนวน 63 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่ม กลุ่มควบคุม(ฝังรากเทียมแบบขั้นตอนเดียว) 32 คน กลุ่มทดลอง(ฝังรากเทียมแบบสองขั้นตอน) 31 คน โดยผู้ป่วยแต่ละคนจะได้รับการฝังรากเทียมฟันยิ้ม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.7 มิลลิเมตร ยาว 13 มิลลิเมตร จำนวน 2 ตัวในบริเวณฟันเขี้ยวของขากรรไกรล่าง และติดตามผลในสัปดาห์ที่ 0,18, 22 และ 26 หลังการฝังรากเทียม พบว่ากลุ่มควบคุมมีอัตราการอยู่รอดของรากเทียมร้อยละ 98.44 กลุ่มทดลองร้อยละ 98.39 ในด้านของลักษณะเนื้อเยื่อรอบรากเทียม ระดับสันกระดูกรอบรากเทียม และเสถียรภาพของรากเทียมของทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p>0.05) จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ในการศึกษาระยะสั้น ผลการฝังรากเทียมแบบขั้นตอนเดียวและการฝังรากเทียมแบบสองขั้นตอนโดยใช้รากเทียมฟันยิ้ม เพื่อรองรับฟันเทียมคร่อมรากเทียมในขากรรไกรล่างไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีแนวโน้มที่จะใช้การฝังรากเทียมแบบขั้นตอนเดียวแทนการฝังรากเทียมแบบสองขั้นตอนให้กับผู้ป่วยในโครงการได้ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The objective of this study was to evaluate the peri-implant parameters (plaque index, bleeding index, gingival index, probing depth and keratinized mucosa), marginal bone level, implant stability and complication after implant placement. Sixty-three patients was participated in this study. After the randomization, 32 patients were underwent with two-stage procedure (control group) and 31 patients were underwent with single-stage procedure (test group). Each patient was placed 2 Fun-Yim implants (3.7x13 mm) at the lower canine region and follow up at 0, 18, 22 and 26 weeks after implant placement. Survival rate of control and test groups were 98.44% and 98.39%. The result showed that no significantly different in peri-implant parameters, marginal bone level and implant stability(p>0.05). This study suggested that Fum-Yim implant was inserted in single-stage procedure might be as predictable as conventional protocol of Fun-Yim implant. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2062 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ฟันปลอม |
en_US |
dc.subject |
ทันตกรรมรากเทียม |
en_US |
dc.subject |
Dentures |
en_US |
dc.subject |
Dental Implants |
en_US |
dc.title |
การศึกษาเปรียบเทียบผลการผ่าตัดฝังรากเทียมแบบขั้นตอนเดียวและสองขั้นตอนเพื่อรองรับฟันเทียมคร่อมรากเทียมในขากรรไกรล่าง |
en_US |
dc.title.alternative |
Comparative study of single and two-stage implant placement for implant-retained mandibular overdenture |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
ศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
ssomchai1@chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2011.2062 |
|