dc.contributor.author | จินดารัตน์ เบอรพันธุ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2016-12-08T01:56:50Z | |
dc.date.available | 2016-12-08T01:56:50Z | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51406 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหางานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมสารนิเทศทางธุรกิจ ในด้านผู้วิจัย วิธีดำเนินการวิจัย รูปแบบการศึกษา ประเด็นที่ศึกษา กลุ่มบุคคลที่ศึกษา และกรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย บทความวิจัย วิทยานิพนธ์ และรายงานการประชุมวิชาการที่เผยแพร่ในปี 2551-2555 ผลการวิจัยพบว่า งานวิจัยที่นำมาวิเคราะห์ส่วนใหญ่เป็นบทความวิจัยภาษาอังกฤษ โดยจำนวนมากที่สุด เผยแพร่ในฐานข้อมูล Taylor & Francis และศึกษาโดยผู้วิจัยจำนวน 2 คน ผู้วิจัยส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ ร้อยละ 19.8 สอนในโรงเรียนธุรกิจ และ ร้อยละ 15.9 สอนในสาขาการตลาดและการโฆษณา และจำนวนมากที่สุดอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อพิจารณาในด้านวิธีดำเนินการวิจัย ปรากฏว่า งานวิจัยส่วนใหญ่ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และมีรูปแบบการศึกษาเป็นรูปแบบการรับรู้ ผลการวิเคราะห์เนื้อหางานวิจัยด้านรูปแบบพฤติกรรมสารนิเทศ พบว่า มีงานวิจัย 30 รายการ ศึกษาการใช้สารนิเทศ 19 รายการ ศึกษาการค้นหาและการค้นคืนสารนิเทศ 18 รายการ ศึกษาการแบ่งปันและการแลกเปลี่ยนสารนิเทศ 16 รายการ ศึกษาการรับและการรับรู้สารนิเทศ 15 รายการ ศึกษาการแสวงหาสารนิเทศ 13 รายการ ศึกษาความต้องการสารนิเทศ และ 6 รายการ ศึกษาการเปิดเผยสารนิเทศ เมื่อพิจารณาประเภทของสารนิเทศทางธุรกิจ และ ประเภทของธุรกิจที่ศึกษา พบว่า งานวิจัยจำนวนมากที่สุด ศึกษาสารนิเทศเกี่ยวกับองค์กร และ ไม่เน้นศึกษาธุรกิจประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ ส่วนกลุ่มบุคคลที่ศึกษา ได้แก่ นักวิชาชีพทางธุรกิจ (36.0%) บุคคลทั่วไป (22.0%) นักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัย (16.0%) และพนักงานบริษัท (14.0%) งานวิจัยส่วนใหญ่ที่นำมาศึกษาไม่ได้ระบุกรอบแนวคิดในการวิจัย จากผลการศึกษาที่ได้ มีข้อเสนอแนะสำคัญ 2 ประการ ประการแรก คือ ควรกระตุ้นและสนับสนุนให้นักวิชาการด้านธุรกิจและนักวิชาชีพสารนิเทศของไทย ทั้งผู้สอน และผู้ปฏิบัติงานในแหล่งสารนิเทศ ท วิจัยด้านพฤติกรรมสารนิเทศทางธุรกิจมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการแบ่งปัน และการแลกเปลี่ยนสารนิเทศ และการเปิดเผยสารนิเทศ เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาการดำเนินธุรกิจ และ การจัดบริการสารนิเทศทางธุรกิจให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้องในประเทศ ประการที่สอง นักวิจัยควรพิจารณาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพมากขึ้นในการศึกษา เพื่อให้ข้อมูลที่ได้มีความครอบคลุมและลึกซึ้งยิ่งขึ้น | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research was to analyze the contents of research publications on business information behavior, in terms of authorship, research methods, types of research question, researched issues, user groups studied, and conceptual framework used in each research. The population of the study consisted of research articles, theses/dissertations and research papers in conference proceedings published during 2008 - 2015. The main findings from this study showed that the analyzed research publications mostly were research articles written in English and published in Taylor & Francis database. Most of them were conducted by 2 researchers, working as faculty members. Among these authors, 19.8 percent taught in business schools and 15.9 percent were associated with marketing and advertising areas. The majority of the researchers lived in the United States. In regard to research methods used, it was found that most of the works were quantitative researches, used survey method, employed questionnaires, and conducting a research into perception patterns. This study illustrated the researched issues of publications on business information behavior that 30, 19, 18, 16, 15,13 and 6 of all the works were relevant to information uses, information searching and retrieval, information sharing and exchange, information reception and perception, information seeking, information needs and information disclosure respectively. In addition to categories of business information and the types of business studied, the majority of the publications focused on organization information and did not specifically refer to any one type of business. User groups of interest included business professionals (36.0 percent) the general public (22.0 percent), students and university staffs (16.0 percent) and company employees (14.0 percent). However, conceptual frameworks were rarely specified in research publications. There are two main recommendations based on the results of this study. First, business-related scholars as well as information professionals, including faculty members and practitioners in information service agencies in Thailand should be encouraged and supported to undertake more research on business information behavior, particularly information sharing and exchange and information disclosure. Doing this will provide the baseline data that can be applied in business operations development and information service management regarding stakeholders’ behaviors in the country. Second, researchers in the field of study may consider using a wide range of qualitative methods in their inquiries to broaden and deepen their research findings. | en_US |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนสนับสนุนการจัดทำเอกสารจากฝ่ายวิจัย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ 2556 | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การวิเคราะห์เนื้อหา | en_US |
dc.subject | ธุรกิจ -- การเขียนบทความ | en_US |
dc.subject | ธุรกิจ -- วารสาร | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์เนื้อหางานวิจัยด้านพฤติกรรมสารนิเทศทางธุรกิจ พ.ศ. 2551-2555 : รายงานการวิจัย | en_US |
dc.title.alternative | Content analysis of business information behavior research during 2008-2012 | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.email.author | Chindarat.B@Chula.ac.th | |
dc.discipline.code | 1014 | en_US |