DSpace Repository

การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ด้วยระบบต้นทุนกิจกรรม

Show simple item record

dc.contributor.advisor จันทนา จันทโร
dc.contributor.author ปานรัตน์ อินทปัญญา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2016-12-22T07:45:57Z
dc.date.available 2016-12-22T07:45:57Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51441
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en_US
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือการสร้างระบบต้นทุนการผลิตในโรงงานผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ด้วยระบบต้นทุนกิจกรรม โดยมีจุดมุ่งหมายคือทำให้ต้นทุนผลิตภัณฑ์ที่คำนวณได้ใหม่มีความแม่นยำมากขึ้นตามกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นจริง การศึกษากิจกรรมจะใช้ข้อมูลจากผลิตภัณฑ์ตัวอย่างซึ่งมีจำนวนการผลิตและมูลค่ามากกว่า 50% ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดในปี พ.ศ. 2547 ได้แก่ แตรไฟฟ้า #1 แตรลมคู่ ไฟหยุดนอน #3 ไฟเตือนหมุน #1 และ แฟลชเชอร์ วิธีการวิจัยเริ่มจากการศึกษาระบบการคิดต้นทุนของโรงงานตัวอย่างในปัจจุบัน เก็บข้อมูลที่จำเป็นต่างๆ ระบุกิจกรรมและคุณสมบัติต่างๆของกิจกรรม ระบุตัวผลักดันต้นทุน วิเคราะห์บัญชีแยกประเภท รวบรวมค่าใช้จ่ายต่างๆให้อยู่ในทรัพยากรเดียวกัน ปันส่วนต้นทุนทรัพยากรให้แต่ละกิจกรรม ปันส่วนต้นทุนกิจกรรมให้แต่ละผลิตภัณฑ์ และคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ต่อหน่วย ผลการวิจัยจากบัญชีแยกประเภทรวมรายการต่างๆได้เป็นต้นทุนทรัพยากร 9 รายการ ศูนย์ต้นทุนกิจกรรม 7 ศูนย์ ต้นทุนกิจกรรม 49 รายการ ต้นทุนวัตถุดิบทางตรงและต้นทุนแรงงานทางตรงใช้วิธีการคำนวณจากระบบต้นทุนเดิม ส่วนโสหุ้ยของผลิตภัณฑ์ตัวอย่างจะแตกต่างกันไปตามปริมาณการใช้กิจกรรมต่างๆของแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีต้นทุนผลิตภัณฑ์ลดลงจากระบบต้นทุนเดิมสูงที่สุดคือ แตรลมคู่ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีต้นทุนผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นสูงที่สุดคือ ไฟหยุดนอน #3 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้ต้นทุนผลิตภัณฑ์แตกต่างจากวิธีเดิมน้อยที่สุดคือ แฟลชเชอร์ en_US
dc.description.abstractalternative The objective of this thesis is to apply the activity-based costing in the manufacturing of automotive parts and spare parts. This costing will give more accurate production cost. The cost objects which were manufactured more than a half of all products are Electric horn#1, Twin air horns, Marker light#3, Warning light#1 and Flasher. The first stage was studying the traditional cost system and collecting the data. The next stage was the activities and cost drivers identification and analysis. The next stage was analyzing the general ledger to identify the resource costs. The last stage was tracing the usage of resource costs to activities then link activity costs to products. The results of analyses and identifications are 9 resources, 7 activity centers and 49 activities. The direct material and direct labor costs are from the traditional costing. The overhead cost is allocated by activities using. After applying the activity-based costing, Twin air horns was the product which had the most cost decrement. Marker light#3 had the most cost increment. The new flasher cost is different at least from the traditional cost. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1291
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject รถยนต์ -- อะไหล่ en_US
dc.subject อะไหล่ -- ต้นทุนการผลิต en_US
dc.subject การบัญชีต้นทุนกิจกรรม en_US
dc.subject Automobiles -- Spare parts en_US
dc.subject Spare parts -- Cost en_US
dc.subject Activity-based costing en_US
dc.title การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ด้วยระบบต้นทุนกิจกรรม en_US
dc.title.alternative Production cost analysis for the manufacturing of automative parts and spare parts by activity-based costing en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline วิศวกรรมอุตสาหการ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor fiejjt@eng.chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.1291


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record