Abstract:
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาที่มาของคำแสดงการขอร้องในภาษาไทยจำนวน 9 คำ ได้แก่ คำว่า “กรุณา” “ขอ” “ช่วย” “เชิญ” “โปรด” “รบกวน” “ด้วย” “ที” และ “หน่อย” ในแง่ปัจจัยและกระบวนการที่ทำให้คำเหล่านี้กลายมาเป็นคำแสดงการขอร้องในภาษาไทย การศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาตามแนวทฤษฎีการกลายเป็นคำไวยากรณ์ ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยเป็นข้อมูลเฉพาะภาษาไทยกรุงเทพฯ ปัจจุบัน โดยเก็บข้อมูลจากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ ผลการวิจัยพบว่า ในภาษาไทยปัจจุบันมีคำที่นำมาใช้เป็นคำแสดงการขอร้อง 9 คำ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มที่ปรากฏข้างหน้า ได้แก่ คำว่า “กรุณา” “ขอ” “ช่วย” “เชิญ” “โปรด” และ “รบกวน” และ 2) กลุ่มที่ปรากฏข้างท้าย ได้แก่ คำว่า “ด้วย” “ที” และ “หน่อย” ความหมายที่เป็นแหล่งกำเนิดของคำแสดงการขอร้องมี 9 ความหมาย ได้แก่ ความสงสาร การวิงวอน ความอนุเคราะห์ การชักชวน ความพอใจ การทำให้เดือดร้อน การทำเพิ่ม จำนวนหนึ่งครั้ง และปริมาณน้อย ผู้วิจัยใช้เกณฑ์ทางวากยสัมพันธ์และทางอรรถศาสตร์ในการจำแนกคำที่ศึกษาออกเป็น หมวดคำต่างๆ และนับความถี่ในการปรากฏเพื่อทำให้เห็นลักษณะการปรากฏใช้จริงว่า คำคำนี้ปรากฏใช้เป็นคำแสดงการขอร้องและหมวดคำอื่นๆ เป็นจำนวนเท่าใด คำแสดงการขอร้องที่ปรากฏด้วยความถี่ น้อยที่สุดคือ คำว่า “ขอ” และ “ช่วย” ซึ่งปรากฏในภาษาเพียง 3.33 % และ 4% ตามลำดับ ในขณะที่ คำแสดงการขอร้องที่ปรากฏด้วยความถี่สูงที่สุดคือ คำว่า “กรุณา” และ “โปรด” ซึ่งปรากฏในภาษาถึง 52.67% และ 69.33% ตามลำดับ ความถี่ที่แตกต่างกันนี้ แสดงให้เห็นว่า แต่ละคำมีการปรากฏใช้เป็น คำแสดงการขอร้องไม่เท่ากัน นอกจากนี้ คำแสดงการขอร้องทุกคำจะต้องมีคุณสมบัติของคำแสดงการขอร้อง ได้แก่ 1) เป็นคำที่เมื่อเติมลงไปในประโยคคำสั่งแล้ว ทำให้ประโยคคำสั่งนั้นกลายเป็นประโยคขอร้อง และ 2) เป็นคำที่สามารถละได้ โดยไม่ทำให้ความหมายหลักของประโยคเปลี่ยนไป งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาที่มาของคำแสดงการขอร้องในภาษาไทยจำนวน 9 คำ ได้แก่ คำว่า “กรุณา” “ขอ” “ช่วย” “เชิญ” “โปรด” “รบกวน” “ด้วย” “ที” และ “หน่อย” ในแง่ปัจจัยและกระบวนการที่ทำให้คำเหล่านี้กลายมาเป็นคำแสดงการขอร้องในภาษาไทย การศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาตามแนวทฤษฎีการกลายเป็นคำไวยากรณ์ ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยเป็นข้อมูลเฉพาะภาษาไทยกรุงเทพฯ ปัจจุบัน โดยเก็บข้อมูลจากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ ผลการวิจัยพบว่า ในภาษาไทยปัจจุบันมีคำที่นำมาใช้เป็นคำแสดงการขอร้อง 9 คำ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มที่ปรากฏข้างหน้า ได้แก่ คำว่า “กรุณา” “ขอ” “ช่วย” “เชิญ” “โปรด” และ “รบกวน” และ 2) กลุ่มที่ปรากฏข้างท้าย ได้แก่ คำว่า “ด้วย” “ที” และ “หน่อย” ความหมายที่เป็นแหล่งกำเนิดของคำแสดงการขอร้องมี 9 ความหมาย ได้แก่ ความสงสาร การวิงวอน ความอนุเคราะห์ การชักชวน ความพอใจ การทำให้เดือดร้อน การทำเพิ่ม จำนวนหนึ่งครั้ง และปริมาณน้อย ผู้วิจัยใช้เกณฑ์ทางวากยสัมพันธ์และทางอรรถศาสตร์ในการจำแนกคำที่ศึกษาออกเป็น หมวดคำต่างๆ และนับความถี่ในการปรากฏเพื่อทำให้เห็นลักษณะการปรากฏใช้จริงว่า คำคำนี้ปรากฏใช้เป็นคำแสดงการขอร้องและหมวดคำอื่นๆ เป็นจำนวนเท่าใด คำแสดงการขอร้องที่ปรากฏด้วยความถี่ น้อยที่สุดคือ คำว่า “ขอ” และ “ช่วย” ซึ่งปรากฏในภาษาเพียง 3.33 % และ 4% ตามลำดับ ในขณะที่ คำแสดงการขอร้องที่ปรากฏด้วยความถี่สูงที่สุดคือ คำว่า “กรุณา” และ “โปรด” ซึ่งปรากฏในภาษาถึง 52.67% และ 69.33% ตามลำดับ ความถี่ที่แตกต่างกันนี้ แสดงให้เห็นว่า แต่ละคำมีการปรากฏใช้เป็น คำแสดงการขอร้องไม่เท่ากัน นอกจากนี้ คำแสดงการขอร้องทุกคำจะต้องมีคุณสมบัติของคำแสดงการขอร้อง ได้แก่ 1) เป็นคำที่เมื่อเติมลงไปในประโยคคำสั่งแล้ว ทำให้ประโยคคำสั่งนั้นกลายเป็นประโยคขอร้อง และ 2) เป็นคำที่สามารถละได้ โดยไม่ทำให้ความหมายหลักของประโยคเปลี่ยนไป
ปัจจัยทางวากยสัมพันธ์ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดคำแสดงการขอร้องมี 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) หน่วยสร้างกริยาเรียง 2) หน้าที่ในการขยายกริยาในประโยค และ 3) โครงสร้างลักษณนาม ปัจจัยทางอรรถศาสตร์ ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดคำแสดงการขอร้องมี 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) ปัจจัยความหมายประจำคำที่อยู่ในตัวคำนั้นๆ 2) ปัจจัยอุปลักษณ์ และ 3) ปัจจัยนามนัย กระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำแสดงการขอร้อง ได้แก่ กระบวนการขยายปริบทการปรากฏ กระบวนการที่ความหมายจางลง กระบวนการคงเค้าความหมายเดิม กระบวนการสูญคุณสมบัติของหมวดคำเดิม กระบวนการวิเคราะห์ใหม่ โดยมีทิศทางการเปลี่ยนแปลง แบบทิศทางเดียว เริ่มจากเป็นคำบอกเนื้อความหรือคำที่มีความเป็นไวยากรณ์น้อย ได้แก่ คำกริยา คำกริยาวิเศษณ์ และคำลักษณนาม แล้วกลายไปเป็นคำที่มีความเป็นไวยากรณ์มากขึ้นคือ คำแสดงการขอร้อง นอกจากนี้ สมาชิกทุกคำของคำแสดงการขอร้องมิได้กลายเป็นคำไวยากรณ์อย่างสมบูรณ์เท่าเทียมกันในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ละคำมีพัฒนาการไม่เท่ากัน ทำให้คำแสดงการขอร้องมีการกลายเป็น คำไวยากรณ์ในระดับต่างๆ กัน