Abstract:
บทความนี้มีเนื้อหาต่อเนื่องจากเรื่องรัสเซีย: มหาอำนาจนิวเคลียร์ (1) ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารนี้ฉบับที่ผ่านมา สาระสำคัญของเรื่องจะกล่าวถึงพัฒนาการการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ของสหภาพโซเวียต ซึ่งหลังการทดลองระเบิดไฮโดรเจนสำเร็จก็ได้เริ่มโครงการทดลองระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ (Ther-monuclear bomb) โดยมีเป้าหมายให้เป็นระเบิดที่มีอานุภาพการทำลายล้างสูงสุดถึง 101.5 เมกะตัน หรือเท่ากับความรุนแรงของระเบิดทีเอ็นที (TNT) จำนวน 101,500,000 ตัน จากพลังระเบิดที่รุนแรงดังกล่าวจึงได้รับฉายาว่า “ซาร์แห่งระเบิด” (“Tsar bomb”) หรือที่นิกิต้า ครุสชอฟผู้นำสหภาพโซเวียตในขณะนั้นได้กล่าวถึงในการปราศรัยในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งที่ 15 ว่า “มารดากุซมา” (“Kuzma’s mother”) ซึ่งสามารถแปลได้ว่า “มารดาแห่งความชั่วร้าย” ระเบิดลูกประวัติศาสตร์นี้ได้สร้างเสร็จและทดลองในวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1961 โดยการปล่อยจากเครื่องบินให้ระเบิดกลางอากาศบริเวณเขตทดลองนิวเคลียร์ ซูโคยโนส (Sukhoi Nos) อ่าวมิจูชิคา (Mityushikha) เกาะโนวายา ชิมเลีย (Novaya Zemlya) มหาสมุทรอาร์คติก ผลของการทดลองได้สร้างสถิติอานุภาพการระเบิดที่รุนแรงที่สุดครั้งใหม่ที่ยังไม่มีการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใดทำลายสถิติได้จวบจนปัจจุบัน