Abstract:
การพัฒนาระบบครอบฟันโลหะเคลือบพอร์ซเลนมีความก้าวหน้าขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยทั้งด้านความสวยงามและความคงทนในการใช้งาน ดังนั้นจึงมีการออกแบบด้านสบฟันของครอบฟันรากเทียมเป็นพอร์ซเลนทั้งหมดในบางกรณี แต่ปัญหาที่ตามาคือ พบว่ามีการแตกของเพอร์ซเลนบริเวณสันริมฟันซึ่งอาจจะมีความสัมพันธ์กับการออกแบบโครงโลหะที่รองรับริเวณประชิดฟัน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความต้านทานต่อการแตกหักของครอบฟันโลหะเคลือบพอร์ซเลนบนรากเทียมซึ่งกำหนดให้มีขนาดเทากับฟันหลังบนที่มีความสูง 7.5 ม.ม.และมีการออกแบบส่วนโลหะรองรับพอร์ซเลนด้านประชิดฟันที่แตกต่างกัน 4 แบบ คือ ชนิดที่ไม่มีส่วนโลหะรองรับพอร์ซเลนด้านประชิดฟันมีเพียงแถบโลหะ0.5 ม.ม. และชนิดที่มีส่วนโลหะรองรับพอร์ซเลนด้านประชิดฟันสูง 2.5, 4 และ 5.5 ม.ม. ซึ่งจะมีพอร์ซเลนหนาในแต่ละกลุ่มเป็น 7 ม.ม., 5 ม.ม., 3.5 ม.ม. และ 2 ม.ม. ตามลำดับ และถูกกำหนดให้เป็นกลุ่ม 1, 2, 3 และ 4 ตามลำดับ โดยในการศึกษานี้ใช้ฟันหลักยึกรากเทียมระบบรีเพลส ชนิดอีซี่ ขนาด 6 ม.ม. เป็นต้นแบบในการสร้างแบบจำลองทดสอบซึ่งมีสัมผัสประชิดฟันข้างเคียงจำลองขณะสร้างครอบฟันแต่จะถอดสัมผัสประชิดออกขณะทดสอบให้แรง ครอบฟันจะถูกสร้างขึ้นในแลปทันตกรรมด้วยวิธีการเดียวกับที่ใช้คลินิก แบ่งเป็น 4 กลุ่มดังกล่าว กลุ่มละ 10 ชิ้น ทำการจึดกับแบบจำลองทดสอบด้วยซิงค์ฟอสเฟสซีเมนต์ ภายหลังทดสอบความต้านทานต่อการแตกหักได้ค่าเฉลี่ยดังนี้ (X±SD) กลุ่มที่ 1 มีค่า 957.33±134.15 นิวตัน กลุ่มที่ 2 มีค่า 1035.05±95.19 นิวตัน กลุ่มที่ 3มีค่า 1450.734±90.47 นิวตัน และกลุ่มที่ 4 มีค่า 1586.18±134.15 นิวตัน เมื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทิศทางเดียว และการทดสอบแบบเชฟเฟ สรุปได้ดังนี้ กลุ่มที่ 1 และ 2 มีค่าความต้านทานการแตกหักของดอร์ซเลน ต่ำกว่ากลุ่มที่ และ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ เมื่อเทียบกลุ่มที่ 1 กับ 2 และ กลุ่มที่ 3 และ 4 พบว่าค่าความต้านทานการแตกหักของพอร์ซเลนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ