Abstract:
การวิจัยนี้ศึกษาในไก่ไข่เพศผู้จำนวน 19 ตัว ซึ่งเป็นตัวแทนของสัตว์ปีก ไก่ทุกตัวได้รับการวางยาสลบและเปิดผ่าบริเวณส่วนของหน้าแข้งด้วยเทคนิศัลยกรรมปลอดเชื้อเพื่อทำให้เกิดการหักของกระดูกทิบิโอทาร์ซัสด้านขวาบริเวณ 1/3 จากปลายล่าง แบ่งไก่ออกเป็น 2 กลุ่มเพื่อรักษากระดูกหักโดยใช้วัสดุยึดตรึงในโพรงกระดูก กลุ่มที่ 1 (10 ตัว) รักษาโดยใช้แกนกระบอกฉีดยายึดตามภายในโพรงกระดูกและใส่แท่งเหล็กเล็กๆตรึงขวางกระดูกและแกนกระบอกฉีดยา และกลุ่มที่ 2 (9 ตัว) ยึดตรึงกระดูกโดยใช้แท่งเหล็กไม่เป็นสนิมยึดตามภายในโพรงกระดูก ประเมินผลการวิจัยจากการใช้ขาของไก่ การตรวจทางรังสีวิทยา และการตรวจตัวอย่างทางจุลพยาธิวิทยา จากการประเมินผลดังกล่าว พบว่าไก่กลุ่มที่ 1 ทุกตัวสามารถใช้ขาลงน้ำหนักได้อย่างปกติที่ 12 สัปดาห์ ส่วนการประเมินผลจากภาพถ่ายทางรังสีวิทยาในแต่ละสัปดาห์พบการต่อติดของกระดูกที่หักอย่างสมบูรณ์ในไก่ทุกตัวที่ 10 สัปดาห์และมีการต่อติดของกระดูกอย่างปกติในไก่กลุ่มที่ 1 สำหรับไก่กลุ่มที่ 2 มีการต่อติดของกระดูกอย่างปกติยกเว้นไก่ 1 ตัวที่พบการติดเชื้อที่โพรงกระดูกในสัปดาห์ที่ 4 ภายหลังการทำศัยลกรรม การวิเคราะห์ผลทางสถิติพบการใช้ขาของไก่ทั้งสองกลุ่มที่ 8 สัปดาห์แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05X สำหรับสัปดาห์ที่ 4, 12, 12 และ 48 พบการใช้ขาของไก่ทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การวิเคราะห์ผลทางสถิติเปรียบเทียบการต่อติดของกระดูกในไก่ทั้งสองกลุ่ม ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (p<0.05) จากการศึกษาดังกล่าว ไก่ทั้งสองกลุ่มพบการต่อติดของกระดูก และการใช้ขาของสัตว์ที่ใกล้เคียงกันโดยไก่กลุ่มที่ 1ไม่พบปฏิกิริยาต่อต้านใดๆ ของรายการต่อแกนกระบอกฉีดยา รวมทั้งไม่พบการติดเชื้อในโพรงกระดูก ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การใช้แก่นกระบอกฉีดยายึดดามภายในโพรงกระดูก สามารถใช้เป็นทางเลือก ในการรักษากระดูกทิบิโอทาร์ซัสหักได้