DSpace Repository

การศึกษาความสุภาพในการขอร้องและการปฏิเสธในการติดต่อธุรกิจทางจดหมายในภาษาไทยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์

Show simple item record

dc.contributor.advisor กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์
dc.contributor.author ปนันดา เลอเลิศยุติธรรม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-02-09T03:09:02Z
dc.date.available 2017-02-09T03:09:02Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51718
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้อาศัยกรอบทฤษฎีของบราวน์และเลวินสัน (1978, 1987) ลีช (1983) และบลุมกุลกา (1984, 1992) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีความสุภาพในการขอร้องและการปฏิเสธในการติดต่อธุรกิจทางจดหมายในภาษาไทย และปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้กลวิธีดังกล่าว อาทิ อำนาจ ระยะห่างทางสังคม ภาระหน้าที่ และวัฒนธรรมทางธุรกิจ ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์มาจากจดหมายธุรกิจ การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ภายในองค์กรธุรกิจ ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีความสุภาพในการขอร้องและกลวิธีความสุภาพในการปฏิเสธปรากฏความแตกต่างบางประการ กล่าวคือ กลวิธีความสุภาพในการขอร้องจำแนกเป็น 6 กลวิธี ได้แก่ การยกย่อง การใช้วัจนกรรมที่ทำให้ผู้ฟังพึงพอใจโดยการชม การขอโทษ และการขอบคุณ นอกจากนี้ยังปรากฏกลวิธีการให้เหตุผลการเสนอทางเลือก การแสดงความหวัง และการให้ข้อมูลเพิ่มเติมทางธุรกิจ ซึ่งทั้ง 6 กลวิธีดังกล่าวสามารถอธิบายได้โดยใช้แนวคิดของเลคอฟ (1973) บราวน์และเลวินสัน (1978, 1987) ลีช (1983) และบลุมกุลกา (1984, 1992) ประกอบกัน ส่วนกลวิธีความสุภาพในการปฏิเสธปรากฏเพียง 5 กลวิธี โดยไม่ปรากฏกลวิธีการเสนอทางเลือก นอกจากนี้พบว่าการพิจารณาถึงผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นส่วนสำคัญทั้งในการขอร้องและการปฏิเสธ เนื่องจากผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกองค์กรทางธุรกิจให้ความสำคัญ และเป็นที่น่าสังเกตว่าไม่ปรากฏการแสดงหรือการลดตนเองดังที่ปรากฏในการสนทนาในชีวิตประจำวัน เนื่องจากจะส่งผลให้มีอำนาจการต่อรองลดลงและส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ทางธุรกิจที่จะได้รับ นอกจากนี้ผลการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมทางธุรกิจมีผลต่อการปรากฏกลวิธีความสุภาพด้านลบหรือกลวิธีความสุภาพที่สัมพันธ์กับการยกย่องนับถือ ในขณะที่สังคมธุรกิจให้ความสำคัญต่อการได้รับการยอมรับและชื่นชมต่อผู้อื่น รวมทั้งความต้องการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ ส่งผลให้ปรากฏกลวิธีความสุภาพด้านบวกหรือกลวิธีความสุภาพที่สัมพันธ์กับการได้รับการยอมรับจากบุคคลอื่น และยังพบว่า อำนาจมีบทบาททั้งในการขอร้องและการปฏิเสธ กล่าวคือ ผู้ที่มีอำนาจน้อยกว่าจะใช้กลวิธีความสุภาพที่ซับซ้อนกว่าเมื่อติดต่อกับผู้ที่มีอำนาจมากกว่า นอกจากนี้ยังพบว่าระยะห่างทางสังคมส่งผลให้ปรากฏการใช้มูลบทด้วย en_US
dc.description.abstractalternative Based on the frameworks developed by Brown and levinson (1978, 1987), Leech (1983), and Blum-Kulka (1984, 1992), this research is aimed at studying politeness strategies of requests and refusals in Thai business correspondence. The factors related to the strategies, such as power, distance, obligation and business culture are also investigated. The data are drawn from three sources: business letters, interviews, and direct observation in a company. It is found that the politeness strategies of requests differ slightly from those of refusals. Request strategies are divided into six types: giving deference; making addressee feel good by complimenting, apologizing, thanking and promising; giving reasons; giving options; expressiong hope; and providing business information. They can be explained by using the politeness framework specified by Lakoff (1973), Leech (1983), Brown and Levinson (1978, 1987), and Blum-Kulka (1984, 1992) all together. In refusals, five politeness strategies as above, except for giving options, are found. Consideration for business profits is an important element in all of these strategies, both in requests and refusals. Self-effacing, which characterizes every day talks among Thai speakers, is not found in this study. This may be because self-effacing can cause damage to business negotiations and profits. Moreover, power plays a role in both requests and refusals in that the writer who has less power uses more complicated strategies than the one who has more power. Distance has an impact on presupposition manipulation, which is prevalent in the data. This study reveals that Thai business culture values both negative and positive politeness by stressing deference and at the same time building rapport. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.2084
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject วัจนปฏิบัติศาสตร์ en_US
dc.subject ภาษาไทย -- การใช้ภาษา en_US
dc.subject จดหมายธุรกิจ en_US
dc.subject การเขียนทางธุรกิจ en_US
dc.subject Commercial correspondence en_US
dc.subject Business writing en_US
dc.title การศึกษาความสุภาพในการขอร้องและการปฏิเสธในการติดต่อธุรกิจทางจดหมายในภาษาไทยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ en_US
dc.title.alternative A pragmatic study of politeness in requests and refusals in business correspondence in Thai en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline ภาษาศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Krisadawan.H@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.2084


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record