Abstract:
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสัดส่วนค่าใช้จ่ายของน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ และศึกษาผลกระทบของการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ทดแทนน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วต่อสวัสดิการผู้บริโภค โดยทำการศึกษาน้ำมันเชื้อเพลิง 5 ชนิด ประกอบด้วยน้ำมันแก๊สโซฮอล์ออกเทน 95 น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95 น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 91 น้ำมันดีเซล และก๊าซแอลพีจี เฉพาะในกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล ระหว่างเดือนตุลาคม 2546 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2550 ในการศึกษาได้ใช้แบบจำลอง LINEAR APROXIMATED ALOMOST IDEAL DEMAND SYSTEM (LA/AIDS) และประยุกต์ไปสู่การวัดสวัสดิการผู้บริโภคโดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงเหมือนเดิม ผลการศึกษา พบว่า ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์มีอิทธิพลทางบวกต่อสัดส่วนค่าใช้จ่ายของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์น้ำมันแก๊สโซฮอล์ พบว่า น้ำมันแก๊สโซฮอล์มีค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสูง สามารถทดแทนน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วได้ดีเนื่องจากมีค่าความยืดหยุ่นไขว้สูง และเป็นสินค้าปกติที่เป็นสินค้าจำเป็นเนื่องจากมีค่าความยืดหยุ่นต่อค่าใช้จ่ายรวมต่อ ค่าใช้จ่ายรวมต่ำ ทั้งนี้ เมื่อทำการวิเคราะห์ต่อเนื่องไปสู่ผลกระทบจากนโยบายการอุดหนุนราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์
พบว่า นโยบายการกำหนดส่วนต่างราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์และน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วจากการให้เงินอุดหนุนราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ทำให้อุปสงค์ของน้ำมันแก๊สโซฮอล์เพิ่มสูงขึ้นมาก และอุปสงค์ของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ทำให้อุปสงค์ของนำมันแก๊สโซฮอล์เพิ่มสูงขึ้นมาก และอุปสงค์ของนำมันแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับนโยบายการกำหนดส่วนต่างราคาดังกล่าวจากการจัดเก็บภาษี เงินกองทุน และค่าการตลาดของน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วเพิ่มขึ้น ส่วนผลกระทบของการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ทดแทนน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว พบว่า ผู้บริโภคมีแนวโน้มสวัสดิการต่อค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มสูงขึ้น และได้รับสวัสดิการที่สูงกว่าจำนวนเงินที่ใช้สำหรับการอุดหนุนราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ สาเหตุจากการกำหนดส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันทั้ง 2 ชนิด