DSpace Repository

การสังเคราะห์อนุภาคระดับนาโนเมตรของซิงก์ออกไซด์โดยใช้กากฝุ่นสังกะสีจากกระบวนการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรนภา สุจริตวร
dc.contributor.author ทิพเนตร นิลผาย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-02-14T06:37:30Z
dc.date.available 2017-02-14T06:37:30Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51809
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการสังเคราะห์ซิงก์ออกไซด์ที่มีอนุภาคขนาดนาโนโดยใช้กากฝุ่นสังกะสีจากกระบวนการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนเป็นสารตั้งต้น ด้วยวิธีตกตะกอน โดยศึกษาภาวะในการเตรียม เช่น ความเข้มข้นของสารละลายที่ใช้ตกตะกอน ค่าความเป็นกรดด่างของสารละลาย (พีเอช) อุณหภูมิการเผาแคลไซน์ และสารช่วยกระจายอนุภาค ต่อสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางโฟโตคะตะลิสต์ของผงซิงก์ออกไซด์ที่เตรียมได้ พบว่าความเข้มข้นของสารละลาย ค่าพีเอชที่ใช้ตกตะกอน และอุณหภูมิการเผาแคลไซน์เป็นตัวแปรที่สำคัญต่อความเป็นผลึก ขนาดผลึก พื้นที่ผิวจำเพาะ ซึ่งส่งผลต่อสมบัติทางโฟโตคะตะลิสต์ โดยที่ภาวะการเตรียมที่พีเอช 13 ความเข้มข้นของสารละลายที่ใช้ตกตะกอน 8 โมลาร์ และเผาแคลไซน์ที่ 600 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ให้ซิงก์ออกไซด์บริสุทธิ์ที่มีอนุภาคขนาด 69 นาโนเมตร พื้นที่ผิวจำเพาะ 14.648 ตารางเมตร/กรัม ซึ่งแสดงสมบัติทางโฟโตคะตะลิสต์ในการย่อยสลาย เมทิลีนบลูที่สูงกว่าสารที่เตรียมได้ที่ภาวะอื่น และเมื่อนำไปศึกษาผลของสารช่วยกระจายอนุภาคโดยเติมเอชพีซี ในปริมาณที่เหมาะสมคือ 0.05 กรัม ต่อสารละลาย 60 มิลลิลิตร จะได้อนุภาคซิงก์ออกไซด์ที่มีการกระจายตัวที่ดี ซึ่งแสดงสมบัติทางโฟโตคะตะลิสต์ในการย่อยสลายเมทิลีนบลูสูงกว่าอนุภาคซิงก์ออกไซด์ที่ไม่มีการเติมเอชพีซี แต่การเติมสารพีวีพีทำให้ ซิงก์ออกไซด์ที่ได้มีสมบัติทางโฟโตคะตะลิสต์ต่ำลง จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า อนุภาคที่จะแสดงสมบัติทางโฟโตคะตะลิสต์ที่ดีนั้น ต้องประกอบด้วยปัจจัยสำคัญร่วมกัน ได้แก่ ความเป็นผลึก ขนาดอนุภาค ความบริสุทธิ์ พื้นที่ผิว ซึ่งสามารถควบคุมสมบัติเหล่านี้ได้ด้วยการปรับภาวะต่างๆ ในการเตรียม en_US
dc.description.abstractalternative In this work, the synthesis of nano sized zinc oxide particles by using zinc dust waste from hot-dip galvanizing process as a starting material via precipitation method was studied. The effects of various parameters such as sodium hydroxide concentration, precipitation pH, calcination temperatures and dispersant on the physical properties and photocatalytic activity of synthesized powder were investigated. It was found that sodium hydroxide concentration, precipitation pH, calcination temperatures were crucial parameters affecting on the degree of crystallinity, crystalline size, specific surface area and photocatalytic property of the synthesized zinc oxide. By using synthesis condition of 8 M sodium hydroxide, adjusting pH at 13, and calcining at 600oC for 2 h result in phase zinc oxide with crystalline size about 69 nm and specific surface area of 14.648 m2/g with perform the highest photocatalytic degradation of methyleneblue solution under UV irradiation. The addition of optimum amount of HPC which atced as a dispersant, 0.05 g per 60 ml of solution had resulted in the improvement of photocatalytic activity of synthesized ZnO compared with that of without addition of HPC. But the photocatalytic activity of ZnO was decreased by adding with PVP. It can be suggested that the efficiency of photocatalytic activity of zinc oxide was affected by the combination factors such as the degree of crystallinity, particle dispersion, specific surface area, which could be controlled these properties by varying synthesis parameters. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2115
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject สังกะสีออกไซด์ en_US
dc.subject สังกะสี -- การนำกลับมาใช้ใหม่ en_US
dc.subject Zinc oxide en_US
dc.subject Zinc -- Recycling (Waste, etc.) en_US
dc.title การสังเคราะห์อนุภาคระดับนาโนเมตรของซิงก์ออกไซด์โดยใช้กากฝุ่นสังกะสีจากกระบวนการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน en_US
dc.title.alternative Synthesis of zinc oxide nanoparticles using zinc dust waste from hot-dip galvanizing process en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เทคโนโลยีเซรามิก en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Pornapa.S@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.2115


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record