DSpace Repository

การเตรียมสารช่วยผสมพอลิแล็กทิกแอซิด-g-มาเลอิกแอนไฮไดรด์ : รายงานวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author กาวี ศรีกูลกิจ
dc.contributor.author ประณัฐ โพธิยะราช
dc.contributor.author ดวงดาว อาจองค์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-02-23T10:02:41Z
dc.date.available 2017-02-23T10:02:41Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52041
dc.description.abstract การสังเคราะห์มาเลอิแอนไฮไดร์กราฟท์พอลิแล็กทิกแอซิด (Maleic anhydride grafted Poly(lactic acid), MAH-g-PLA) โดยการทำปฏิกิริยาในเครื่องอัดรีดเกลียวคู่ (Twin screw extruder) ได้ทำการศึกษาผลของปริมาณไดคิวมิลเปอร์ออกไซด์ (Dicumyl peroxide) ซึ่งเป็นสารริเริ่ม (Initiator) และปริมาณของมาเลอิกแอนไฮไดร์ต่อประสิทธิภาพการทำปฏิกิริยาการกราฟท์ จากการสังเคราะห์มาเลอิกแอนไฮไดร์กราฟท์พอลิแล็กทิกแอซิด โดยเทคนิคแบบหลอมเหลว ปฏิกิริยาการกราฟท์สามารถยืนยันได้จาก FTIR และ NMR ผลจาก FTIR พบว่าปรากฏพีค (Peak) ที่ตำแหน่ง 1,759 cm⁻¹ และ 3,300 -3,600 cm⁻¹ ซึ่งเป็นพีคของหมู่คาร์บอนิลในหมู่เอสเทอร์และพีคการสั่นแบบ stretching ของหมู่ไฮดรอกซิล (OH) ในหมู่คาร์บอกซิลิก ผลการวิเคราะห์จาก NMR ซึ่งปรากฏค่าเคมิเคิลชิพ (chemical shift) ที่ประมาณ 3.9 และ 4.7 ppm ซึ่งเป็นค่าเคมิเคิลชิพของหมู่เมทิลีนในมาเลอิกแอนไฮไดร์เพิ่มขึ้นมา จากการหาค่าของกรดโดยการไทเทรตแบบย้อนกลับพบว่าได้ปริมาณการกราฟท์ที่ 1.6% และ 3.29% เมื่อใช้ปริมาณมาเลอิกแอนไฮไดร์ที่ 2.5% และ 5% โดยน้ำหนัก ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณของไดคิวมิลเปอร์ออกไซด์ไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อปริมาณการกราฟท์ และจากการวิเคราะห์ผลโดย GPC พบว่าน้ำหนักโมเลกุลของพอลิแล็กทิกแอซิดลดลง เนื่องมาจากปฏิกิริยาการตัดขาดของสายโซ่ หรือการเสื่อมสลาย (Degradation) ของสายโซ่ที่เรียกว่า β-Scission en_US
dc.description.abstractalternative The synthesis of maleic anhydride grafted poly(lactic acid) (MAH-g-PLA) was successfully achieved by reactive extrusion using a twin screw extruder. The effects of initiator (dicumyl peroxide) and maleic anhydride contents on grafting efficiency were investigated. By reactive extrusion method, grafting reaction was achieved after confirming by FTIR and NMR. FTIR spectra showed absorption bands at 1,759 cm⁻¹ and 3,300-3,600 cm⁻¹, corresponding to carbonyl ester group and OH stretching of pendant carboxylic group. From NMR spectra of grafted PLA, chemical shifts at 3.9 and 4.7 ppm were observed which were responsible for the methylene protons of maleic anhydride moiety. The quantitative analysis by back titration revealed that the grafting degrees of 1.6% and 3.29% were obtained for 2.5 wt% and 5 wt% maleic anhydride, respectively. On the other hand, the amount of dicumyl peroxide had insignificant effect on the degree of grafting when compared to maleic anhydride. However, GPC results showed that the molecular weight of PLA substantially decreased due to the side reaction of β-Scission. en_US
dc.description.sponsorship กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject มาลีอิกแอนไฮไดรด์ en_US
dc.subject พลาสติกชีวภาพ en_US
dc.subject พลาสติกที่ย่อยสลายทางชีวภาพ en_US
dc.title การเตรียมสารช่วยผสมพอลิแล็กทิกแอซิด-g-มาเลอิกแอนไฮไดรด์ : รายงานวิจัย en_US
dc.title.alternative Preparation of polylactic acid-g-maleic anhydride compatibilizer en_US
dc.type Technical Report en_US
dc.email.author Kawee.S@Chula.ac.th
dc.email.author Pranut.P@Chula.ac.th
dc.email.author duangdao.a@chula.ac.th
dc.discipline.code 0314 en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record