DSpace Repository

การปรับปรุงแบบจำลองการสะสมตัวของแอโรซอลในโปรแกรม ART Mod 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมบูรณ์ รัศมี en_US
dc.contributor.advisor กัมปนาท ซิลวา en_US
dc.contributor.author วศิน เวชกามา en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2017-03-03T03:07:26Z
dc.date.available 2017-03-03T03:07:26Z
dc.date.issued 2559 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52403
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 en_US
dc.description.abstract ในการประเมินอุบัติเหตุในโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ การประเมินอุบัติเหตุในอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์จัดเป็นส่วนที่สำคัญมากส่วนหนึ่ง เนื่องจากเป็นโครงสร้างที่ป้องกันการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีขั้นสุดท้ายก่อนไปสู่สิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาพฤติกรรมของสารกัมมันตรังสีต่างๆที่รั่วไหลในอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์โดยเฉพาะสารประกอบซีเซียม ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการประเมินผลกระทบของอุบัติเหตุในโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ที่อาจเกิดขึ้น โดยใช้โปรแกรม ART Mod 2 ในการคำนวณ จากการศึกษางานวิจัยในอดีตซึ่งใช้โปรแกรม ART Mod 2 ในการศึกษาการเคลื่อนที่และการสะสมตัวของสารประกอบซีเซียมในอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ Economic Simplified Boiling Water Reactor (ESBWR) และจากการจำลองการทดลอง Nuclear Safety Pilot Plant – 502 (NSPP-502) และ Phébus Fission Product Test 1 (Phébus FPT1) เพื่อศึกษาการสะสมตัวของแอโรซอลของสารประกอบซีเซียมในอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ พบว่ามีความไม่สอดคล้องกันของปริมาณแอโรซอลที่สะสมตัวบนพื้น ปริมาณแอโรซอลที่สะสมตัวบนผนัง และปริมาณสารกัมมันตรังสีที่รั่วไหลไปสู่สิ่งแวดล้อมที่ได้จากการทดลองและการคำนวณ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงแบบจำลองของการสะสมตัวของแอโรซอลในโปรแกรม ART Mod 2 เพื่อให้ได้ผลการคำนวณที่สอดคล้องกับการทดลองจริงมากขึ้นและสามารถประเมินอุบัติเหตุได้แม่นยำขึ้น โดยได้ทดลองปรับปรุงแบบจำลองการสะสมตัวของแอโรซอลจาก 4 ปรากฏการณ์ ได้แก่ ปรากฏการณ์การตกจากแรงโน้มถ่วง (gravitational settling) ปรากฏการณ์การแพร่แบบบราวเนียน (Brownian diffusion) ปรากฏการณ์ดิฟฟิวซิโอโฟรีซิส (diffusiophoresis) และปรากฏการณ์เทอร์โมโฟรีซิส (thermophoresis) ถัดมา จึงได้นำแบบจำลองที่ผ่านการปรับปรุงแล้วมาใช้ในการจำลองการทดลอง NSPP-502 และ Phébus FPT1 และการประเมินการจัดการอุบัติเหตุในอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ ESBWR ผลที่ได้พบว่าในการจำลองการทดลอง NSPP-502 และ Phébus FPT1 มีค่าการสะสมตัวของแอโรซอลบนพื้นและผนังใกล้เคียงการทดลองจริงมากขึ้น และพบว่าในการจำลองการประเมินการจัดการอุบัติเหตุในอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ ESBWR มีปริมาณสารกัมมันตรังสีที่รั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อมใกล้เคียงกับการประเมินจากโปรแกรม MAAP ที่ใช้ประเมินก่อนหน้ามากขึ้น จากผลที่สอดคล้องกันของการทดลองและการคำนวณ ทำให้สามารถเลือกวิธีการจัดการอุบัติเหตุกับผลกระทบที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยมากขึ้น en_US
dc.description.abstractalternative As for severe accident assessment of nuclear power plant, severe accident assessment in containment vessel is important because containment vessel is the last structure for protection of release of fission product. This research focuses on the study of fission product behaviour in containment vessel, in particular the cesium compounds, which are important information for consequence assessment of accidents in nuclear power plants, using ART Mod 2 programme. In previous research, ART Mod 2 programme was used to study transportation and deposition of cesium compounds in containment vessel of Economic Simplified Boiling Water Reactor (ESBWR) and experiments of Nuclear Safety Pilot Plant – 502 (NSPP-502) and Phébus Fission Product Test 1 (Phébus FPT1). Aerosol deposition on the floor, aerosol deposition on the wall and amount of radioactive material leak into the environment from the experiment and calculation were found inconsistent. The objective of this research is to improve aerosol deposition model for more consistent calculation and more accurate accident assessment. There are four phenomenon of aerosol deposition of which the calculation models being modified, including gravitational settling, Brownian diffusion, diffusiophoresis and thermophoresis. After that, modified aerosol deposition models are simulated with NSPP-502, Phébus FPT1 experiment and accident management of ESBWR containment vessel. As a result, aerosol deposition on the floor and the wall agree more with NSPP-502 and Phébus FPT1 experiments. In addition, in the simulation of accident management of ESBWR containment vessel, it is found that release of radioactive material become closer to the previous assessment using the MAAP programme. This consistency of the experiment and calculation results provide accurate information which enable us to choose method in order to more appropriately and safely deal with consequence of accident. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1007
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ละอองลอย
dc.subject ละอองรังสี
dc.subject Aerosols
dc.subject Aerosols, Radioactive
dc.title การปรับปรุงแบบจำลองการสะสมตัวของแอโรซอลในโปรแกรม ART Mod 2 en_US
dc.title.alternative Improvement of aerosol deposition model in ART Mod 2 programme en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline วิศวกรรมนิวเคลียร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Somboon.Ra@chula.ac.th,rsomboonr@gmail.com en_US
dc.email.advisor kampanarts@tint.or.th en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.1007


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record