DSpace Repository

แนวความคิดเกี่ยวกับผู้กระทำความผิดและผู้เสียหายในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา

Show simple item record

dc.contributor.advisor มัทยา จิตติรัตน์
dc.contributor.author นิธิ เมทินีวงศ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-03-03T07:06:46Z
dc.date.available 2017-03-03T07:06:46Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52431
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551 en_US
dc.description.abstract พฤติกรรมในการแสวงหาความพึงพอใจทางเพศโดยการบังคับข่มขืนใจในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป โดยไม่จำกัดอยู่แค่เพียงกรณีผู้ชายเป็นฝ่ายกระทำต่อผู้หญิงอีกต่อไป แต่ผู้หญิงก็อาจเป็นฝ่ายกระทำต่อผู้ชายก็ได้หรืออาจเป็นการกระทำของบุคคลเพศเดียวกันก็ได้ไม่ว่าจะเป็นการกระทำของผู้ชายกระทำต่อผู้ชาย หรือผู้หญิงกระทำต่อผู้หญิง พฤติกรรมเหล่านี้แพร่หลายมากขึ้นจนก่อให้เกิดปัญหาสังคมและก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก ดังนั้นในหลายๆ ประเทศจึงมีการแก้ไขกฎหมายความผิดเกี่ยวกับเพศให้ครอบคลุมถึงการกระทำเหล่านี้ สำหรับประเทศไทยก็ได้มีการแก้ไขความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญาโดยมีการกำหนดคำนิยามใหม่ของคำว่า “กระทำชำเรา” และในส่วนของผู้ถูกกระทำก็ได้ตัดคำว่า “หญิงซึ่งมิใช่ภริยาตน” ออกและใช้คำว่า “ผู้อื่น” แทน ทำให้ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรามีขอบเขตที่กว้างขึ้นโดยในส่วนของผู้กระทำความผิดกฎหมายใช้คำว่า “ผู้ใด” เมื่อพิจารณาประกอบกับความหมายใหม่ของการกระทำชำเราแล้ว ผู้กระทำความผิดจึงอาจเป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ในขณะเดียวกันผู้เสียหายก็อาจเป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงเช่นเดียวกันโดยอาจเป็นการกระทำต่อบุคคลเพศเดียวกันก็ได้ การแก้ไขกฎหมายในครั้งนี้เป็นการแก้ไของค์ประกอบของความผิดอันเป็นปัญหาเกี่ยวโยงไปถึงเจตนารมณ์ในการบัญญัติกฎหมายตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายและก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับคำนิยามของคำว่า “กระทำชำเรา” หรือปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กตามมาตรา 277 เป็นต้น ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราก่อนที่จะมีการแก้ไขในครั้งนี้มีความเหมาะสมอยู่แล้วแต่อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมของการกระทำความผิดทางเพศในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็กำลังสร้างปัญหาให้กับสังคมเป็นอย่างมาก ดังนั้น ผู้เขียนจึงเห็นว่าควรมีการบัญญัติเป็นความผิดฐานใหม่ให้ครอบคลุมการกระทำต่างๆ เหล่านี้นอกเหนือจากความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราและการกระทำอนาจาร ตัวอย่างเช่น ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราแบบผิดธรรมชาติหรือผิดธรรมดามนุษย์ นอกจากนี้ ควรบัญญัติให้การข่มขืนกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี เป็นเหตุเพิ่มโทษตามมาตรา 276 เพื่อเป็นการสร้างความแตกต่างระหว่างมาตรการในการคุ้มครองเด็กกับการคุ้มครองผู้ใหญ่และจะทำให้กฎหมายมีความชัดเจนมากขึ้นในเรื่องการข่มขืนกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีที่เป็นคู่สมรสกับผู้กระทำอีกด้วย en_US
dc.description.abstractalternative A forcing behavior for the purpose of satisfying sexual desire is now changing. Such behavior is not limited to the case of male to female offending anymore, but also including the case of female to male offending or the case of offending on the same gender, whether male to male or female to female. Such behavior is expanding and causing a lot of social problems and damage. Therefore, many countries have amended its law on sexual offences to cover such behavior. In Thailand, there is also an amendment on rape offence which defines a new meaning for the term “sexual intercourse” and replacing the term of victim which was limited to “woman other than his wife” with “other person”. Such amendment has thus broadened the offence of rape, considering the term of offender which the law provides as “whoever” with the new definition of sexual intercourse, therefore, the offender may be male or female and the victim may as well be male or female either. Moreover, an offence on the person with same gender is also possible. Such amendment has altered the element of crime in this offence which related to the purpose of the law and its application, causing many problems such as the definition of “sexual intercourse” or child protection pursuant to Article 277 for instances. The author is of the opinion that, before the amendment, the rape offence was more appropriate. However, since those emerging behaviors in sexual offences are causing a lot of social problems, the author is of the view that there should be other provisions which constitute other offences to cover those behaviors besides rape offence and indecent assault offence, i.e. sodomy or deviate sexual intercourse. Moreover, a rape offence on under 15 years old victim should be regarded as a ferocious cause of Article 276 in order to make a difference between child protection measure and adult protection measure and to clarify the rape offence on under 15 years old victim who is a spouse of the offender. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.153
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject อาชญากรรมทางเพศ en_US
dc.subject การข่มขืน en_US
dc.subject Sex crimes en_US
dc.subject Rape en_US
dc.title แนวความคิดเกี่ยวกับผู้กระทำความผิดและผู้เสียหายในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา en_US
dc.title.alternative Concept regarding offenders and injured persons in rape case en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.153


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record